วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนยุทธศาสตร์ ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๖๑

วันที่ ๑- ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาและของอาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนฯที่ทำไปเป็นการเตรียมการภาคปฏิบัติของสถานศึกษาและอาชีวศึกษาจังหวัดเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ตามรายละเอียดที่กำหนดเรื่องที่จะต้องปฏิรูป กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ได้แง่คิดให้กับ สอศ. จากการพูดของท่านอานันท์ ปันยารชุน ประธานกรรมการปฏิรูป กล่าวเปิดงาน " ๒๐ ปี ๒๐ วันสืบ นาคะเสถียร" จัดโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ตอนหนึ่งว่า ๒๐ ปีที่แล้วสืบ นาคะเสถียร ได้พยายามนำเสนอประเด็นในเรื่องสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และสัตว์ป่า ผ่านสื่อและเวทีต่างๆ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ แต่ไม่มีใครสนใจ เพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทุกวันนี้ทุกคนรู้แล้วว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ "สืบ"อยู่ในระบบราชการและพยายามทำตามระบบซึ่งเป็นระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นระบบที่ยึดติดกับอำนาจ เงินทุน และกฎหมาย ซึ่งหลายครั้งที่กฎหมายถูกใช้อย่างไม่ตรงตามเจตนารมณ์และเกิดผลกระทบตามมาอย่างมาก ระบบราชการของเรายังล้าหลัง จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปฎิรูป วันนี้เราพูดถึงการกระจายอำนาจ แต่เป็นการกระจายอำนาจจากหน่วยราชการส่วนกลางไปยังหน่วยราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น อย่างไรก็ตามการกระจายอำนาจหมายถึงการกระจายสิทธิไปยังชุมชนและเรื่องนี้ไม่ใช่การทำทาน แต่ถือเป็นสิทธิที่ต้องให้ประชาชนเพราะเขามีอำนาจในการขอพื้นที่ทางการเมือง พื้นที่ความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย"ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีคิดเรื่องนี้อีก ๒๐ ปีข้างหน้าก็ยังต้องพูดเรื่องเดิมอีก ผมหวังว่าเราจะไม่ปล่อยให้ "สืบ"ต้องเดียวดายทุกคนต้องตระหนักเสมอว่าเวลาในชีวิตที่เหลือยู่นี้ เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของสังคมไทย สิ่งที่ต้องทำคือการเปลี่ยนแปลงอำนาจของระบบราชการกับประชาชน อำนาจเงินทุนกับประชาชน อำนาจระหว่างผู้บริหารกับประชาชนและ อำนาจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งเรื่องนี้ต้องไม่พูดเพื่อแสดงความฝันเท่านั้น แต่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยให้ได้" นายอานันท์ กล่าวสิ่งที่ สอศ. จะต้องรีบดำเนินการคือการปฏิรูประบบของการบริหารอย่างจริงจัง คือการกระจายอำนาจลงสู่ภูมิภาค(สถาบันการอาชีวศึกษา)หากจะให้ดีลงสู่สถานศึกษาได้ยิ่งดี และให้ได้โดยเร็ว ไม่ให้ใช้การบริหารแบบศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางซึ่งผู้บริหารทั้งหลายก็เห็นอยู่แล้วที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการบริหารงบประมาณ หากขับเคลื่อนล่าช้านานเท่าไร อาชีวศึกษาก็จะยิ่งพัฒนาช้าไปเท่านั้น โดยกลไกการแทรกแซงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนอกเหนือการควบคุม ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคของการพัฒนา การปฏิรูปทั้งสิ้น ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เห็นหรือยังครับท่านทั้งหลายการเมืองเข้ามาล้วงการบริหารจัดการภายใน สอศ. ทำให้เกิดการย้ายที่ไม่เคยมีมาก่อนใช้หลักการอะไรในการพิจารณาไม่พ้นคำว่าเพื่อความเหมาะสม เพียงเพราะไม่สนองความต้องการของนักการเมืองเท่านั้นแหละถ้าหาก สอศ.ไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดซ้ำซากต้องรวมพลังในการจัดตั้งสถาบันให้ได้ตามเจตนารมในการพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา แล้วองค์กรเหล่านี้กำลังทำอะไรอยู่ สมาพันธ์ครูอาชีวศึกษา สมาคมผู้บริหารอาชีวศึกษาใครเป็นผู้รับผิดชอบบทบาทขององค์กรบ้างไม่เห็นมีแถลงการณ์อะไรบ้างหรือว่าการขับเคลื่อนเรื่องของการแทรกแซงการบริหารเหล่านี้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นหรือว่าอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: