วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โครงการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารพัฒนากระบวนทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการอาชีวศึกษาใหม่

ก้าวใหม่อาชีวศึกษาไทยคิดแล้วต้องทำทันที
สอศ. จัดติวเข้ม!ผู้บริหาร-อาจารย์อาชีวะ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดงาน สัมมนา โครงการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารพัฒนากระบวนทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการอาชีวศึกษาใหม่ โดยงานสัมมนาครั้งนี้ได้ระดมมันสมองของนักการตลาด มืออาชีพของเมืองไทยมาร่วมให้ความรู้มากมาย อาทิ อาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด, กรรมการตัดสิน รายการ SME ตีแตก ททบ. ๕, ดร.ทรรศนะ บุญขวัญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, คุณพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์, คุณต่อบุญ พ่วงมหา ประธานบริหาร บริษัท สนุกดอทคอม จำกัด และ ร้อยตำรวจเอกดร.นิติภูมิ นวรัตน์ คอลัมนิสต์คนดังจี้ภาครัฐต้องลงมาช่วย!อาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด กรรมการตัดสินรายการ SME ตีแตก กล่าวว่า เห็นได้จากประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีล้วนให้ความสำคัญกับการศึกษาในหลักสูตรอาชีวะ ยิ่งประเทศในโลกตะวันตก เขาสร้างชาติได้ด้วยการสร้างนักเรียนอาชีวะ ประเทศไทยปัญหาที่สำคัญของการศึกษาระดับอาชีวะ ก็คือ ภาพลักษณ์ของสถาบันที่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ซึ่งถือเป็นปัญหาเร่งด่วน ภาครัฐที่ต้องลงมาให้ความช่วยเหลือ และให้ ความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ หลักในการแก้ปัญหาดังกล่าว อันดับแรกคือ การคัดเลือกนักศึกษาที่มีศักยภาพและมีความรู้ความสามารถมาเป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์ นำน้ำดีมาขับไล่น้ำเสียภายในสถาบัน ตลอดจนการจัดกิจกรรมประกวดให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษาคนอื่นๆ ชั่วเคยมี ดีเคยผ่าน มาตรฐานชายไทย ดร.นิตภูมิ นวรัตน์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ คอลัมนิสต์ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า... ผมมองว่าการศึกษาอาชีวะในปัจจุบันเป็นสถาบันที่ผลิตชายจริง หญิงแท้ เลยต้องบู้ก่อนบุ๋นทำให้เกิดการรักพวกพ้อง ดั่งเช่น วลีที่ว่า ชั่วเคยมี ดีเคยผ่านจึงตกผลึกในชีวิตและสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีคนที่สามารถสื่อสารและอธิบายให้สังคมเข้าใจ ไม่ให้เกิดความกังวลที่จะเข้ามาเรียน เพราะโลกใบนี้ยังขาดเด็กที่จบสายอาชีวะ ทั้งที่มีงานมากมายรออยู่ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการวางแผนที่ดีและลงมือทำทันที ด้วยการนำสิ่งที่เป็นจุดเด่นของแต่ละโรงเรียนมาเป็นประโยชน์และใช้ให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีการปฏิรูปการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญในชีวิตการทำงานด้วย Put Right Man On The Right Job นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบิน นกแอร์ จำกัด กล่าวถึงการพิจารณารับบุคลากรเข้าทำงานกับบริษัทว่า... โดยส่วนตัวสนใจด้านไอเดียของพนักงานมากกว่าสถาบันการศึกษา เราต้องการพนักงานที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง กล้าวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำ เพราะการคิดและการกล้าแสดงออกที่เป็นประโยชน์และพัฒนาองค์กรต่อไป และผมคิดว่าองค์กรอาชีวะศึกษาก็ต้องการคนแบบนี้อยู่เหมือนกัน ชี้โซเชียลมีเดียครอบคลุมทุกอย่างนายต่อบุญ พ่วงมหา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สนุกดอทคอท จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน เห็นได้จากตัวเลขการใช้เฟซบุ๊คทั่วโลกมีกว่าหกร้อยล้านคน ดังนั้น อาจารย์ตลอดจนผู้บริหารสถาบันอาชีวะศึกษาควรมีการปรับตัวรองรับการเติบโตของตลาดโซเชียลมีเดียให้สามารถไปด้วยกันได้ ประการสำคัญตัวอาจารย์ผู้สอนควรเข้าถึงโซเชียลมีเดียเพื่อนำข้อมูลต่างๆ ของเด็กนักเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งปรับปรุงระบบการศึกษาโดยต้องมีเครื่องมือที่เพียงพอ อาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ต้องรู้จักสร้างแรงบันดาลใจดร.ทรรศนะ บุญขวัญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า...ผู้บริหารสถาบันอาชีวะสามารถรวมตัวกับหลายๆ สถาบันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในลักษณะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เหมือนกับวลีที่ว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเพียงวันเดียวทุกอย่างต้องเริ่มที่อิฐก้อนแรกก่อนเสมอ อย่างไรก็ตามฝากไปยังอาจารย์ผู้สอนทุกสถาบันว่า อาจารย์ที่ดีชอบเสนอ อาจารย์ชั้นยอดชอบบอก อาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ชอบสร้างแรงบันดาลใจที่ดีแก่นักเรียน นับเป็นมิติใหม่ที่น่าสนใจของการอาชีวะศึกษาในเมืองไทย ที่หันมาให้ความสำคัญกับบุคลากรในด้านของผู้บริหารการศึกษาและครูผู้สอนพร้อมๆ ไปกับการพัฒนาการศึกษาอาชีวะในด้านอื่นๆ
ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ วันที่ ๒๒ - ๒๕เม.ย. ๒๕๕๔--

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โครงการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารพัฒนากระบวนทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการอาชีวศึกษาใหม่

ศึกษาดูงานที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

ศึกษาดูงานที่เกาะนามิ กิมจิแลนด์ ป้อมฮวาซอง










ศึกษาดูงานที่ SHINJIN AUTO MOBILE SCOOL ( http:www.shinjin.hs.kr/)



ลักษณะของห้องเรียนภาคปฏิบัติและการสอนของครูที่สอนอย่างตั้งใจไม่ถิ้งห้องเรียน











ลักษณะห้องเรียนภาคทฤษฎี สื่อการเรียนการสอน





























ศึกษาดูงานที่ บลูเฮาส์ พิพำธภัณฑ์พื้นบ้าน พระราชวังเคียงบ็อค พลับพลากลางน้ำเคียงเฮวรู ภูเขานัมซาน ศูนย์โสมรัฐบาลเกาหลี ตลาดเมียงดง





ศึกษาดูงานที่ บริษัท ซัมซุง (samsung delight) และ compact smart city