วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

อบรมโครงการค่ายยุววาณิช



๒๑ มกราคม ๒๕๕๒
เวลา ๑๑.๐๐ น.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์การมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดอบรมโครงการค่ายความรู้ยุววาณิช ระหว่างวันที่ 21 - 25 มกราคม 2552 ณ ห้องประชุมเฮือนกระพี้ โรงแรมธนโชติ รีสอร์ท และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนเมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 21 มกราคม 2552 โดยมี นายธงชัย วงษ์เหรียญทองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีโครงการ และมี ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา เป็นผู้กล่าวรายงาน และผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินี แม่ฮ่องสอน นายไพรัช วิมาลา กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นนักศึกษา จากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราิชินีแม่ฮ่องสอน จำนวน 20 คน นักศึกษาจาก วิทยาลัยการอาีชีพแม่สะเรียง จำนวน 5 คน คณะครู - อาจารย์ จำนวน 5 คน เข้ารับการฝึกอบรม

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

งานฤดูหนาวและกาชาดประจำปี ๒๕๕๒







วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๒
เวลา ๑๘.๓๐ น.
วันแรกของงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่จัดให้กับชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปีซึ่งมีกิจกรรมการแสดง การประกวดนางสาวแม่ฮ่องสอน ธิดาชนเผ่า ดนตรี การแสดงของนักเรียน เยาวชน การออกร้านกาชาด การจัดนิทรรศการของหน่วยงานแต่ละกระทรวงต่าง ๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และการออกร้านของพ่อค้า แม่ค้าเอกชน และวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนก็จัดนิทรรศการของแต่ละแผนกวิชา บัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ไฟฟ้า ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง การสอนวิชาชีพระยะสั้นหลากหลายวิชาในแต่ละวัน การแนะแนวการศึกษาต่อ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

งานวันครูครั้งที่ ๕๓ ปี ๒๕๕๒

วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒เพิ่มวิดีโอ
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน ๕๓ รูป ณ บริเวณถนนขุนลุมประพาสหน้าโรงเรียนอนุบาลแม่ฮ่องสอนในโอกาสวันครูประจำปี ๒๕๕๒ ร่วมกับคณะครูอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
เวลา ๐๘.๐๐ น.
ร่วมพิธีสงฆ์ ณ อาคารเอนกประสงค์บุญชู ตรีทอง โรงเรียนห้องสอนศึกษาโดยมีนายธงชัย วงษ์เหรียญทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในพิธี
เวลา ๑๓.๐๐ น.
ร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ วอลเลย์บอล ฟุตบอล เปตอง เซปัคตะกร้อ และเกมส์เบ็ตเล็ด
เวลา ๑๘.๐๐ น.
ร่วมรับวิทยากรสอนวิชาชีพระยะสั้น หอยทอด จากวิทยาลัยการอาชีพพานทอง รองฉาย ชัยสงคราม

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

โครงการเปิดหลักสูตร ปวช. ในโรงเรียนมัธยม

๑๕ มกราคม ๒๕๕๒
เวลา ๐๙.๐๐ น.
ประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารโรงเรียนขุนยวมวิทยาคณะครูกับคณะผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนคณะครูผู้รับผิดชอบโครงการ

โรงเรียน ตชด. บ้านปุงยาม

๑๔ มกราคม ๒๕๕๒
เวลา ๑๓.๐๐น.
มอบของขวัญวันเด็กตามโครงการปันไออุ่นสู่ขุนเขากับน้องผู้อยู่ห่างไกลให้กับนักเรียนโรงเรียน ตชด.บ้านปุงยามร่วมกับแผนกวิชาช่างยนต์วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนโยมีครูใหญ่พร้อมคณะครูให้การต้อนรับจึงขอบขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
เวลา ๑๕.๓๐ น.
ประชุมเตรียมงานจัดนิทรรศการและการสอนวิชาชีพระยะสั้นในงานกาชาดจังหวัดแม่ฮ่องสอนประจำปี ๒๕๕๒ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๗ - ๒๖ มกราคม ๒๕๕๒ ซึ่งมีกิจกรรมนิทรรศการของแต่ละแผนกวิชา จำนวน ๖ แผนกวิชา สอนวิชาชีพระยะสั้น จำนวน ๔๐ วิชา

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยม


๑๒ มกราคม ๒๕๕๒
นำโดยรองสมพงษ์ อุ่นใจ รองผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๔ อำเภอปางมะผ้า คณะครูและนักเรียนโปรแกรมการบัญชีสะสมหน่วยกิต เยี่ยมชมวิทยาลัยฯและสวัสดีปีใหม่รองผู้อำนวยการวิศาลผู้ประสานงานโครงการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยมในโอกาสาปีใหม่ ๒๕๕๒

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

สัมนาสำนักอำนวยการสัญจร




วันที่ ๘-๙ มกราคม ๒๕๕๒
การสัมนาสำนักอำนวยการสัญจร ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง โดยมี ผอ. เริงจิตร์ มีลาภสม เป็นประธานในการประชุม จากการกล่าวเปิดประชุมและการบรรยายเบื้องต้นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างสถานศึกษาและสำนักอำนวยการคิดว่าเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
๑. การปฏิรูประบบราชการที่เป็นการพัฒนาระบบราชการแล้วทำให้มีการรวมกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกันและมีลักษณะของงานใกล้เคียงกันจึงทำให้เป็นองค์กรที่ใหญ่ มีปัญหาทางด้านการสื่อสารกับสถานศึกษา ส่วนหนึ่งบุคลากรที่รับผิดชอบงานของสถานศึกษายังไม่ชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบจึงใช้การแก้ปัญหาโดยการโทรศัพท์สอบถามโดยตรงไปยังส่วนกลางก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่วนกลางจะต้องคำนึงถึง
๑.๑. การกระจายอำนาจตาม ที่เป็นหลักการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคตามที่ระบุใว้ในหลักการกระจายอำนาจ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการศึกษา ๒๕๔๒ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ไม่ว่าจะเป็นระดับสถานศึกษา ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ระดับสถาบันการอาชีวศึกษา
๑.๒.การปฏิรูปบุคคลที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานซึ่งบุคคลยังใช้วัฒนธรรมการทำงานในการตั้งรับยึดตัวตนเป็นสำคัญไม่ได้ยึดงานเป็นที่ตั้ง
๑.๓. การพัฒนาระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง การทำให้องค์กรเป็นองค์กรผุ้นำทาง IT. อย่างแท้จริงตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและสถานศึกษาโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒. รัฐมนตรีและรัฐมนตรีและการรับผิดชอบงานของแต่ละคนคือ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๔/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เพื่อให้การดำเนินงานในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบังเกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๔๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ จึงมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทน ดังต่อไปนี้
๒.๑. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ องค์กรในกำกับ และภารกิจอื่น ดังต่อไปนี้
๒.๑.๑ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๒.๑.๒ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
๒.๑.๓ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒.๑.๔ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
๒.๑.๕ การตอบกระทู้ถาม ชี้แจงญัตติ การเสนอและชี้แจงกฎหมาย หรือภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรัฐสภา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือภารกิจอื่นที่รับผิดชอบ ในข้อ ๑.๑ - ๑.๔ ๑.๖ งานอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
๒.๒. นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและองค์กรในกำกับ และภารกิจอื่น ดังต่อไปนี้
๒.๒.๑ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๒.๒.๒ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
๒.๒.๓ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒.๒.๔ การตอบกระทู้ถาม ชี้แจงญัตติ การเสนอและชี้แจงกฎหมาย หรือภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรัฐสภา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือภารกิจอื่นที่รับผิดชอบ ในข้อ ๒.๒.๑ - ๒.๒.๓ ๒.๒.๕ งานอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนดังกล่าว ให้ยกเว้นเรื่องนโยบาย เรื่องการบริหารงานบุคคล เรื่องที่เป็นการริเริ่มงานใหม่ เรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่ระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง เรื่องที่จะต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา และเรื่องที่สมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาสั่งการ เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิบัติราชการแทนตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อนึ่ง อำนาจการสั่งและปฏิบัติราชการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในองค์กรหลักและองค์กรในกำกับต่างๆ มีดังนี้ ๑. สำนักงานรัฐมนตรี ๒. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๓. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๔. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๕. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๖. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๗. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการภายใน 1 ปี คงต้องคำนวณงบประมาณเป็นหลัก จึงจะทราบว่าจะสามารถจัดการเรื่องใดได้บ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องสำคัญคือต้องผลักดันนโยบายเรียนฟรี ให้ฟรีจริงและต้องฟรีอย่างมีคุณภาพ ส่วนเรื่องอื่น ๆ คงต้องรอดูรายละเอียดอีกครั้งว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร นอกจากนี้ ด้วยความที่ตนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตาก เห็นปัญหาการขาดการศึกษาของเด็กชายขอบ หรือเด็กที่ด้อยโอกาส มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นคิดว่าจะเข้าไปดูแลปัญหานี้อย่างจริงจัง ส่วนเรื่องการพัฒนาครูก็เป็นเรื่องสำคัญ จะเข้าไปดูแลเรื่องหนี้สินนอกระบบ รวมถึงค่าตอบแทนที่ครูควรจะได้รับ ตลอดจนการตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพ ชีวิตครูเพื่อให้ครูเป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มีอาชีพเป็นครู
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังมอบนโยบาย ว่า โดยส่วนตัวแล้วไม่รู่สึกหนักใจที่ได้มีทำหน้าที่ตรงจุดนี้ ที่ผ่านมาก็เคยร่วมงานกับข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการที่ตนเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือมาก่อนจึงเข้าใจจิตใจของครูดี เพราะครูจะเป็นผู้ให้และมองอนาคตของเด็ก และเห็นว่าเด็กแต่ละพื้นที่ก็เก่งไม่เหมือนกัน เนื่องจากได้รับความรู้ที่ต่างกัน ดังนั้นควรจะต้องนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังตอบไม่ได้ว่าอยากดูแลงานขององค์กรใด ต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแบ่งงานและแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนแล้วค่อยมาวานนโยบายในการทำงานร่วมกัน “กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ใหญ่และสำคัญต่อประเทศชาติ เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านต่างๆ ดังนั้นหากต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของเด็กต้องรู้ถึงข้อมูลพื้นฐานเพื่อเสริมความรู้ให้เหมาะสมต่อไป” รมช.กล่าว
๓.หน้าที่รับผิดชอบของรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั้ง ๓ คนได้แจ้งให้สถานศึกษาทราบแล้ว
๔.การตั้งศูนย์ข้นภายในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขึ้นอีก ๓ ศูนย์

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรูปแบบรายการก่อสร้าง




วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๑


ประชุมระยะที่ ๒ ณ ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรรม การจัดเตรียมเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของหัวหน้างานพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ที่ได้รับงบประมาณสิ่งก่อสร้างที่ต้องดำเนินการจัดจ้างด้วยวิธีอิเล็คทรอนิค ความก้าวหน้าของการจัดทำรูปแบบรายการสิ่งก่อสร้าง