วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นักศึกษา วปอ. ศึกษาดูงานพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน


๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
เวลา ๑๕.๓๐ น.
คณะนักศึกษา วปอ. ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ ได้ศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ท่านรองเลขาฯอกนิษฐ์ คลังแสง ร่วมคณะนี้ด้วยจึงได้มีโอกาสตอนรับและให้ข้อมูลบางส่วนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนระหว่างศึกษาดูงานที่ภูโคลน บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานที่ได้ปฏิบัติและได้รับมอบหมาย




๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
พิธีเปิดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน บ้านห้วยโป่งหมู่ที่ ๑ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยความร่วมมืองรหว่างวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนกับ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งและกำนันตำบลห้วยโป่ง และได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการไพรัช วิมาลา เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ระยะที่ ๓

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประชุมรับการกำกับติดตามงานนโยบายรองนายกรัฐมนตรี


๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๑.๑๐ น.
ร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอนและหน้าส่วนราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนจากการที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมตามงานที่ได้รับผิดชอบ รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนและได้มอบนโยบายและรับฟังข้อเสนอแนะจาก สส.และหัวหน้าส่วนราชการมีรายละเอียดดังนี้
๑. การอนุรักษ์ธรรมชาติที่คงเหลืออยู่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๒.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่จะต้องควบคู่กันของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๓.ด้านการศึกษาให้เน้นแก้ปัญหาประชาชนที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ พูดสื่อสารไม่ได้ ฟังไม่ออก และการศึกษาในระบบเน้นและให้โอกาสผู้ที่ด้อยโอกาสและมีฐานะยากจนจัดให้ได้เรียนฟรี มีโอกาสได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น และขอทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สำรวจข้อมูลที่ชัดเจนของผู้ที่มีฐานะยากจน
๔.การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามและธรรมชาติที่เป็นทุนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่แล้วให้คงอยู่อย่างยั่งยืนไม่ต้องเน้นในการพัฒนาทางด้านวัตถุมากเอาแต่ที่จำเป็นเท่านั้นและไม่ควรให้การท่องเที่ยวมากระทบต่อสิ่งเหล่านี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาผิดไปจากเดิม การดูแลรักษาธรรมชาติ
๕.การศึกษาอาชีวะในด้านการเกษตรรัฐบาลมีนโยบายให้เรียนฟรีโดยวิทยาลัยเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้ที่เรียนจบจะได้มาพัฒนาอาชีพทางการเกษตรได้ถูกทางเน้นเกษตรอินทรีย์
๖.นโยบายเร่งรัดระยะสั้น ๖ ข้อของรัฐบาล

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รับท่านที่ปรึกษา สอศ.

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐ น.
เดินทางร่วมกับรองฯวิศาล วัชรินทร์สมทบกับคณะท่านที่ปรึกษา พันธ์ศักดิ์ โรจนกาศ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรม ผอ.ชำนาญ ธรรมใจ ผอ.วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่พร้อมกับทีมงานของเนทเทคประเทศไทยและป้องกันภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอนตรวจสอบเครื่องมือเตือนภัยที่ติดตั้งในพื้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนอำเภอปาย จำนวน ๓ จุดบริเวณดอยจิกจ่อง ๒ จุด ดอยกิ่วลม ๑ จุด อำเภอเมืองบริเวณพระตำหนักปางตอง ซึ่งคณะครู นักเรียน นักศึกษาสาขาวิชาช่างอิเลคทรอนิคส์วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแมฮ่องสอนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการติดตั้งเครื่องมือเตือนภัยนี้ร่วมกับทางเนทเทคประเทศไทย
๑ สิหาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๐.๐๐ น.
โอกาศนี้ได้เข้าเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯโดยการเดินชมบริเวณอาคารแผนก ไม่ได้เชิญคณะครูประชุมพบปะพูดคุยเพราะเป็นช่วงที่มีการเรียนการสอนอยู่แต่ได้มีการสอบถามเรื่องความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ส่วนราชการต่างๆและได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องของป้ายวิทยาลัยที่ไม่เด่นชัดเป็นลักษณะแบน เรื่องของรถพระที่นั่งควรจัดที่แสดงให้เหมาะสมมีเขตบริเวณเป็นลักษณะมีเสาหลักโซ่ร้อยเป็นขอบเขต บอร์ดแสดงเรื่องราวของรถพระที่นั่งขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถได้เสด็จประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังวหัดแม่ฮ่องสอนประกอบอยู่ด้วย การดูแลซ่อมแซมบริเวณที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ของนักเรียนให้อยู่ในสภาพดีและอื่นๆที่เป็นเรื่องการสนัยสนุนการเรียนการสอนให้ดีมีคุณภาพที่ดีขึ้น การจัดระเบียบโรงอาหารให้เป็นระเบียบดูแล้วไม่เกะกะ และการติดตั้งสายไฟฟ้า สายสัญญานต่างๆให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยระหว่างตึก

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมวันหยุด

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๐๙.๐๐ น.
ร่วมพิธีเปิดการอบรมผู้ช่วยผู้ฝึกสอนวิชาลูกเสือวิสามัญกองลูกเสือวิสามัญวิทยาลัยการอาชีพนวมิทราชินีแม่ฮ่องสอน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐ น.
ตรวจเยี่ยมการสอนวิชาชีพระยะสั้น โรงเรียนบ้านป่าลาน ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน วิชาซ่อมจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อาหาร ขนม ตุ๊กตาหอม ตุง ดอกมะลิ

รับผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือฯ

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๑.๓๐ น.
ร่วมประชุมกับคณะกรรมการสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนรับยนโยบายจากผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและรายงานความก้าวหน้าโครงการสถานศึกษาต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ณ หมู่บ้านสบแพม ต.ทุ่งยาว อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

กิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนา



๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๐๖.๓๐ น.

ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบริเวณตั้งแต่หน้าวัดหัวเวียงถึงหน้าธนาคารกรุงไทยกับผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ พ่อค้า ประชาชน จัดโดยสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

เวลา ๑๙.๐๐ น.
ได้ร่วมพิธีสวดมนต์ไหว้พระร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน นักเรียนนักศึกษา ณ วัดหัวเวียง

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล

๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๐๙.๑๕ น.
การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ ตามแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากร (HR scorecard) ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมโกลเด้นท์ปาย แอนด์ สวิท รีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนายธงชัย วงษ์เหียรทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานเปิดการประชุมและได้บรรยายพิเศษเรื่องของความสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคล วิธีการดำเนินการก็ต้องมีการพัฒนาหลาย ๆ ด้านโดยยกคำกล่าวที่ว่า ถ้าเราจะเพราะปลูกก็ต้องเตรียมดิน ถ้าเราจะกินเราก็ต้องเตรียมอาหาร ถ้าเราต้องการพัฒนางานก็ต้องพัฒนาคน การพัฒนาคนที่ดีก็ต้องพัฒนาตัวเราเองและการพัฒนาตนเองที่ดีก็ต้องพัฒนาที่จิตใจ
การพัฒนาตนเองที่สำคัญต้องมี
๑. การศึกษาหาความรู้การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา(การศึกษาตลอดชีวิต)
๒. มีความประพฤติดี ประพฤติชอบ
๓. มีการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
๔. สมาคมดี(การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี)
การทำงานในองค์กร
๑. การบริหารทั่วไป ( ๔ M )
๒. งานด้านการพัฒนา การบูรณาการการทำงาน มองเป็นองค์รวม การผนึกกำลังความรู้ความสามารถที่แต่ละคนมีความชำนาญ ความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน ความรู้ความเชี่ยวชาญแต่ละด้านเมือร่วมการทำงานงานหนึ่งผลของงานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิภาพ สมบูรณ์
๓. งานบริการ(อย่าเป็นคนเห็นเรื่องส่วนตัวเป็นหลัก ต้องให้ความสำคัญเรื่องส่วนรวมเป็นหลัก) ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนา
การจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR scorecard ผลของการประชุมเชิงปฏิบัติการตามประเด็นคำถาม จำนวน ๔ ข้อคือ
๑. เป้าหมายสูงสุดหรือผลสัมฤทธิ์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สนับสนุนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด คืออะไร
๒. อะไรบ้างที่เป็นจุดแข็งหรือสิ่งที่ดีที่จังหวัดมีอยู่ในด้านบุคคลและการบริหารทรัพยากรบุคคลและอยากจะให้รักษาไว้ต่อไปหรือมุ่งเน้นให้ดียิ่งๆ ขึ้น
๓. อะไรบ้างที่เป็นสิ่งท้าทาย หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของจังหวัดประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายสูงสุดที่คาดหวัง
๔. อะไรบ้างที่หน่วยงานการเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานด้านบุคคลของจังหวัดควรจะทำ แต่ไม่ได้ทำในช่วงที่ผ่านมาหรือท่านคาดหวังให้หน่วยงานด้านบุคคลของจังหวัดสนับสนุน จากประเด็นคำถาม ๔ ข้อข้างต้นผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งการระดมความคิดออกเป็น ๔ กลุ่มจึงได้ประมวลคำตอบทั้งสี่กลุ่มสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้
ประเด็นคำถามที่ ๑
๑.รู้จักการค้าชายแดน
๒.มีความรู้ทางด้านภาษา เช่นภาษาชนเผ่า ภาษาอังกฤษ
๓.รู้ประเพณี วัฒนธรรมของพี่น้องชนเผ่า รักแลหวงแหนวัฒนธรรมท้องถิ่นอนุรักษ์ความเป็นแม่ฮ่องสอนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์
๔.เป็นคนรู้แหล่งท่องเที่ยวและระบบเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน การส่งเสริม สนับสนุน ภาคเอกชนในด้านการท่องเที่ยวและบริการ และการอบรมบุคลากรให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ๕.เป็นคนรู้วิสัยทัศน์ เป็นนักพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๖.ควรเป็นผู้มีศักยภาพ มีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่งศักยภาพของบุคคลากร เลือกคนมีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงาน มีบุคลากรเพียงพอ
๗.พัฒนาบุคคลากรบนพื้นฐานของความพอเพียง แมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลากรอย่างสม่ำเสมอ
๘.สร้างจิตสำนึกให้มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี เป็นแม่แบบข้าราชการที่ดีต่อเยาวชนรุ่ต่อๆไป
๙.รับสมัครและสรรหาจากนอกพื้นที่จังหวัด จากความเต็มใจมาทำงานในแม่ฮ่องสอน มีภูมิลำนาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทั้งคนใหม่และคนในพื้นที่)
๑๐.บูรณาการองค์ความรู้โดยการถ่ายทอดในรูแบบต่างๆอย่างน้อยหนึ่งเรื่องต่อคน(คนใหม่)
๑๑.ควรส่งเสริมให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่เป็นคนแม่ฮ่องสอนและสนับสนุนทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท เอก แก่ข้าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยมีข้อตกลงการทำงานกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนหลังจากสำเร็จการศึกษา
ประเด็นคำถามข้อที่ ๒
๑.

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กีฬาเป็นยาวิเศษ


๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแมฮ่องสอนได้ส่งนักเรียนระดับ ปวช.เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งมีอยู่หลายประเภทกีฬา คือ เปตอง วอลเลย์บอล ฟุตซอล กีฬาวอลเลย์บอล หญิงได้รับชัยชนะที่ ๒ ชายชนะที่ ๓ และฟุตซอลชนะที่ ๒ ผลการแข่งขันที่ปรากฎจะเห็นได้ว่ากิจกรรมกีฬาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความสมบูรณ์หลายด้าน สุขภาพ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การพัฒนาของร่างการเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่สนใจเป็นพิเศษสามารถพัฒนาสู่ระดับอาชีพได้ และที่สำคัญทำให้ห่างไกลยาเสพติด

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประชุมกรรมการประเมินคุณภาพภายใน



๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๐๐ น.
คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาได้ประชุมการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยผู้อำนวยการไพรัช วิมาลาเป็นประธานในการประชุมพิจารณาตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของแบบประเมิน มี ๖ มาตรฐานและ ๓๔ ตัวบ่งชี้

ตรวจเยี่ยมการเตรียมงานโครงการศูนย์ซ่อมสร้าง


๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๓๐ น.
คณะผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานที่ในการดำเนินงานโครงการศูนย์ซ่อมสร้างที่ตำบลห้วยโป่งซึ่งมีกำนันตำบลห้วยโป่งได้ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมสถานที่ที่จะเตรียมการจัดงานในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑

กิจกรรมพบปะสังสรรสิทธิ์เก่ารุ่นที่ ๒


วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๙.๐๐ น.
สิทธิ์เก่าแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังได้นัดพบปะสังสรร จัดพิธีดำหัวครู อาจารย์ ได้เสนอแนะและเปรียบเทียบการประพฤติปฏิบัติตัวของนักเรียนนักศึกษาในเรื่องของการแต่งกายของผู้หญิง การให้การสนับสนุนด้านการเรียนเกี่ยวกับหนังสือเรียน การดำเนินการชมรมของแผนก และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยฯ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ประชุมปรึกษาโครงการส่งเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่

๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.
ตามที่ผอ.ไพรัช วิมาลาได้โทรศัพท์สั่งการประสานเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมปรึกษาหารือในเรื่องการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าประชุม
๑.รองศุภชัย พัวพันธ์พิพัฒน์
๒.รองวิศาล วัชรินทร์
๓.รองชูเกียรติ สายปัญญา
๔.นางอุไร จิตคำภู (ผู้มีประสบการณืด้านธุรกิจ)
๕.นายชัยสิทธิ์ สง่างาม (หัวหน้าแผนกวิชาการก่อสร้าง)
๖.นางมัสรัตน์ แสงแก้ว (ทีมงานการดำเนินการโครงการ)
๗.นายวัฒวุฒิ แสงเมือง (ผู้ออกแบบ)
๘.นางสาวจุฑามาศ บัวขาว ผู้ออกแบบ)
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนจึงกำหนดโครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในเรื่องของการให้บริการธุรกิจกาแฟสดขึ้นซึ่งมีเรื่องที่ได้นำมาปรึกษาหารือดังนี้

๑. สถานที่ที่เหมาะสมในการให้บริการที่ประชุมเห็นบริเวณตรงกันบริเวณหลังซุ้มพระพุทธธรูปติดถนนเปิดรั้ว๒. ขนาดและรูแบบอาคารขนาดความก้วาง ๔ คุณ ๘ เมตร ประมาณราคาคร่าวๆ ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐. บาท วัสดุที่กำหนดหลังคาน่าจะใช้ดินเผา ทรงหลังคาแบบพื้นบ้านท้องถิ่น พื้นสำเร็จปูด้วยกระเบื้อง และมอบทางแผนกวิชาก่อสร้างดำเนินการออกแบบคร่าวๆ และนำเสนอในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งกำหนดออกแบบแล้วเสร็จ วันจันทร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประสานโครงการ Fix it center ระยะที่ ๓



๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑
เวลา ๑๐.๓๐ น.
ร่วมเดินทางไปประสานงานโครงการ Fix it center ระยะที่ ๓ ระหว่างปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง ได้ร่วมกับรองฯวิศาล วัชรินทร์และหัวหน้างานความร่วมมือและบริการชุมชนนายพงษ์ศักดิ์ ศิริมาเมืองติดต่อประสานรายละเอียดการเปิดโครงการนำร่องของศูนร์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนตำบลแรกของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน โดยได้ประสานรายละเอียดโครงการกับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง(นายจิรัฏร์ สืบสายอ่อน)และกำนันตำบลห้วยโป่ง(นางไข่แก้ว )การขอกำหนดใช้สถานที่ กลุ่มประชาชนที่เป็นเป้าหมาย รายละเอียดของกิจกรรมในวันเปิดโครงการซึ่งกำหนดเป็นวัเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ กิจกรรมหลักกระทำพิธีเปิดโครงการเป็นหลัก กิจกรรมบริการประชาชนเรื่องบริการตรวจซ่อมรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องใช้ใฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ฟรีและอบรมวิชาชีพระยะสั้น ๓ ชั่วโมง เป้าหมายทั้งตำบลประมาณ ๕๐๐ คน กิจกรรมต่อเนื่องจะกำหนดรายละเอียดวิชาที่จะดำเนินการอบรมตามรายละเอียดโครงการฯลฯ และแจ้งให้ผู้ประสานงานโดยกำนันตำบลห้วยโป่งอีกครั้งหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทัศนศึกษาดูงานวิทยาลัยการอาชีพฝาง




๒๕-๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑

ได้ร่วมเดินทางพร้อมกับคณะผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนไปทัศนศึกษาดูงานการเปิดสาขาวืทยาลัยการอาชีพฝาง สาขาท่าตอน ซึ่งมีสาขางานที่เปิดทำการสอน จำนวน ๒ สาขาวิชาคือสาขางานซ่อมบำรุง และสาขางานการโรงแรมและการท่องเทียวได้เปิดดำเนินการมาเป็นปที่ ๒ มีการจ้างครูต่างชาติสอนภาษาในศูนย์การเรียนรู้สาขานี้ด้วยสองคน สภาพห้องเรียนที่จัดแบบง่ายๆ โล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดท่าตอนในด้านสถานที่และด้านการเรียนการสอนทุนการศึกษาของนักเรียนนักศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจน ในการนี้มีท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษามาตรวจเยี่ยมโครงการและโอกาสนี้ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีทำบุญวิทยาลัยการอาชีพฝาง ท่าน ผอ.สมพงษ์ คณะผู้บริหารและครูของวิทยาลัยการอาชีพฝางได้ต้อนรับและอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง