วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง


การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่กับการบริหารยุทธศาสตร์
ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
วัตถุประสงค์ในการจัดประชุมสัมมนาการพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มี ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อให้คณะผู้บริหารได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร ปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๒. เพื่อระดมความรู้ และประสบการณ ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และในการดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และร่วมกันขับเคลื่อนอาชีวศึกษา
๔. เพื่อการศึกษาดูงาน และการรับชมบรรยากาศธรรมชาติในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
แผนงานการดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๑. แผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
๒. จัดอบรมบุคลากร เพื่อพัฒนาบุคลากร ตั้งแต่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกำหนด
การจัดอบรมครั้งละ ๗ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อนำความรู้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษาต่อไป
๓. ประเมินครูปีงบประมาณ ๒๕๕๓ มีการสอบเพื่อวางแผนพัฒนาครูอย่างมีระบบ
๔. การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ได้ผ่านขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. การสอนเทียบโอนประสบการณ์ ต้องคำนึงถึง - คุณภาพ - เทียบโอนได้จริง
๖. การจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี มีบางสถานศึกษาที่ยังจัดไม่เหมาะสม ไม่พร้อมเท่าที่ควร
ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ
๗. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี ควรคำนึงถึง
๑. หลักสูตร
๒. การจัดการวางแผน
๓. สถานประกอบการ
๔. กระบวนการทำงานต้องมี หลักสูตรจะต้องดี ครูสอนดี ตั้งใจสอน การบริหารจัดงานต้องดี
๕. การวัดผล ประเมินผล
เรื่อง บทบาทการบริหารสถานศึกษายุคใหม่
โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม และคณะ ได้แก่
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
๒. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
๓. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
๔. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
การบริหารยุคใหม่ เน้นการบริหารงานด้วยปัญญา โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน และการสร้างประสบการณ์ เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และในเรื่องของความร่วมมือ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน งานที่อาศัยความปราณีตและอดทน
มีประเด็นที่สำคัญ ๔ ประการคือ
๑. การสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ คิดถึงส่วนรวม
๒. นักบริหารยุคใหม่ ต้องระวังการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ การให้โอกาสในการ
เจริญเติบโตของผู้ใต้บังคับบัญชา การอยู่รวมกันด้วยความเมตตา
๓. ความยืดหยุ่น ความพร้อมในการปรับตัว ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง กลไกสำคัญใน
การขับเคลื่อนอาชีวศึกษา คือ ต้องสร้างความเข็มแข็ง
๔. เรื่องของเทคโนโลยี (Innovation) ไม่ใช่เรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น ที่เป็นนโยบาย
แต่เป็นนวัตกรรม และเป็นการคิดแบบใหม่
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ทั้ง ๔ ท่าน คือ
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
- การจัดตั้ง สถาบันการอาชีวศึกษา บุคลากรภายในอาชีวศึกษาควรมีความสามัคคี สร้างความเป็นหนึ่งเดียว และมีทัศนคติในด้านการเน้นที่ความเป็นอาชีวศึกษา โดยการเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่มีความเก่งในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการสร้างความเข็มแข็ง การเป็นจุดเด่น
ของอาชีวศึกษา
๒. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ - การสร้างความเป็นมาตรฐานภายในสถาบัน - ด้านกำลังคน ต้องมีความเข็มแข็ง สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
๓. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ - การบริหารงานภายในสถานศึกษา ผู้บริหารยุคใหม่ ศึกษาการบริหารงานจากผู้บริการยุคเก่าเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานต่อไป - การพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ ร่วมกับสถานประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ
4. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา - การบริหารงานภายในสถานศึกษาในฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารงานฝ่ายแผนงานฯ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และฝ่ายวิชาการ ควรมีการคิดนอกกรอบ (ยกเว้นฝ่ายบริหารทรัพยากร)เพื่อสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นการพัฒนาการบริหารงาน
การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดย รองเลขาการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย : - คุณภาพและมาตรฐาน - โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจุลภาคส่วน
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ - พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ - ผลิต / พัฒนากำลังคน
๒. พัฒนาศักยภาพครูยุคใหม่ - พัฒนาระบบครู - พัฒนาครู - พัฒนาการใช้ครู
๓. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา - Infastruckture - Environment
๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการยุคใหม่ - กระจาย อำนาจ - พัฒนาระบบ / ธรรมาภิบาล - พัฒนาระบบ / เพื่อเพิ่มโอกาส - พัฒนาการมีส่วนร่วม
- บุคคล / องค์กร - อปท. - ทรัพยากรเพื่อการศึกษา กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา - คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป มี ๒ คณะ
๑.คณะกรรมการนโยบายปฏิรูป กศ.ทว. นายกรัฐมนตรี ประธาน ๒. คณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูป กศ.ทว. ๒ รมว. ศธ. ประธาน
การจัดตั้งหน่วยงาน / ปรับบทบาทหน่วยงาน
๑. องค์กรเพื่อรับรองคุณภาพ/มาตรฐานสถาบันการผลิต “ สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ ”๒. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ๓. สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ๔. ปรับมาตรฐาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็น “ สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต ”
มอบหมายหน้าที่หน่วยงานเดิม เพื่อภารกิจใหม่
๑. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และสพฐ. “การประกันการเรียนรู้ และมาตรฐานผู้เรียน”
๒. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาขับเคลื่อน การกระจายอำนาจของพื้นที่ และการศึกษา
แก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหา
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. การประสานแผนฯ ๓. การดำเนินการตามแผนฯ ๔. การติดตามประเมินแผนฯ
สร้างสรรค์แนวทางใหม่/เพิ่ม
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. บูรณาการ แผนฯ ๓. ดำเนินการตามแผน ๔. ติดตาม/ประเมิน
เรื่อง การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา นายจินศิริ พุ่มศิริ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๘,๐๒๘.๕๕๘ ล้านบาท (ผ่านพิจารณาวาระที่ 2- 3)
งบรายจ่าย ปี๒๕๕๓ ร้อยละ
งบบุคลากร ๗,๘๒๘.๐๙๕ ๔๓.๔๒
งบดำเนินงาน ๓,๘๖๗.๒๘๗ ๒๑.๔๕
งบลงทุน ๕๔๗.๑๔๓ ๓.๐๓
งบเงินอุดหนุน ๕,๗๒๙.๕๓๑ ๓๑.๗๘
งบรายจ่ายอื่น ๕๖.๕๐๐ ๐.๓๑
รวมทั้งสิ้น ๑๘,๐๒๘.๕๕๖ ๑๐๐.๐๐
ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะ การบริหารงบประมาณ
• การรายงานข้อมูล และผลการเบิกจ่ายเงิน
• การจัดทำแผนขอตั้งงบประมาณ และแผนการใช้เงิน
• การวางแผนและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
• การใช้จ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
• การขอสนับสนุนเงิน และ การจัดทำหนังสือตอบโต้
• การติดต่อ การสอบถาม การหารือ และการประสานงาน
• การใช้ระเบียบ หลักเกณฑ์ และการตีความ
• การควบคุมและการจัดเก็บเอกสารงบประมาณ
เรื่อง โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒ (SP ๒,๒๕๕๓-๒๕๕๕)
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา (นายเจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ)

ไม่มีความคิดเห็น: