วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ติดตามงานการซ่อมบำรุงรถพระที่นั่ง

เวลา ๐๙๐๐ น.
ประชุมกับ อ.พิราม อ. คณิต อ. สุพล เรื่องการซ่อมบำรุงรถพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี สวิทไฟ ระบบเบรค การทำความสะอาดเบาะ สี และการคลุมหลังจากเสร็จแต่ละวัน ไม่อนุญาตให้นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ที่ไม่เกี่ยวข้องขึ้นไปนั่ง หรือขับเล่น ต้องมีที่จำกัดเขตเป็นแนวชัดเจนรอบตัวรถ การจัดทำบันทึกรายงานการซ่อมบำรุงตามรายการที่ได้ดำเนินการเสนอรายงานให้กับวิทยาลัยรับทราบอย่างละเอียดทุกครั้ง
เวลา ๐๙.๓๐ น.
ผอ.ไพรัช ตามใบเสร็จรับเงินให้กับบริษัทมติชนเรื่องโรงเรียน I See U ประสานแจ้งผู้เกี่ยวข้อง อ.ชัยสิทธิ์ อ.ดวงสมร รายงานว่าส่งให้แล้ว แต่ย้ำให้ส่งทาง Fax และไปรษณีย์ตอบรับอีกทางหนึ่ง
สกสค.เชิญประชุมกรรมการโครงการสินเชื้อเพื่อพัฒนาชีวิตครู จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอน มีสมาชิกยืนความประสงค์กู้จำนวน ๑๖ รายได้รับการพิจารณาผ่านให้กู้ทั้ง ๑๖ราย
และประชุมคณะกรรมการ สกสค.จังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อจนถึงเวลา ๑๑.๕๐ น.เลิกประชุม

ประสานมอบตู้น้ำเย็น


๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
เวลา ๑๕.๓๐ น.
ได้ประสานกับ ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยเสือเฒ่า อ.ชัชวาลย์ อ.พิราม อ.กฤษณะ การนำตู้น้ำเย็นไปมอบให้กับโรงเรียนบ้านห้วยเสือเม่า อ.กฤษณะ ได้ให้ความอนุเคราะห์ตัดสติ๊กเกอร์ข้อความ "บริจาคโดยวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ประสานโดยวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน" อ.ชัชวาลย์ได้ร่วมเดินทางไปมอบด้วย ดูที่ติดตั้งสำหรับนักนักเรียนดื่มได้สะดวก
จากนั้นได้ประสานเรื่องไม้ที่จะทำพื้นโต๊ะสำหรับบริการร้านกาแฟนวมินทร์ผู้รับจ้างจะมาตัดให้ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ช่วงเช้า สำหรับไม้ท่อนที่นั่งที่สั่ง จำนวน ๘ ท่อนนั้นผู้รับจ้างได้เอามาส่งไว้ที่ โรงเรียนบ้านห้วยเสือเฒ่า เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท
เวลา ๑๖.๐๐ น.
ได้รับการประสานจาก ผอ.ไพรัช เรื่องการเตรียมการพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ ซึ่งกำหนดจัดในวันจันทร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น.นักเรียน นักศึกษารายงานตัวเพื่อรับประกาศนียบัตร ได้เชิญ ผอ.อัมพร ภักดีชาติมาเป็นประธานในการมอบ เมื่อเสร็จพิธีนำคณะประธาน จำนวนประมาณ ๒๐ คน ไปพักที่ โครงการตามพระราชดำริป่าไม้ปางตอง ๒ (ปางอ๋ง) ๒ คืน ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ ดังนั้นจึงต้องประสานขอความอนุเคราะห์ที่พักจากผู้รับผิดชอบโครงการ ฯลฯ

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ข้อเสนอของนักศึกษา









สารจากตู้แสดงความคิดเห็น
ที่เป็นความต้องการของผู้ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่การเปลียนแปลงที่เขาอยากจะเปลี่ยนเป็นการเปลี่ยนเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสัมพัสทางโสตประสาทตา หากจะให้เหมาะสมและเกิดความสมบูรณ์ในการเปลี่ยนแปลง ตราสัญลักษณ์วิทยาลัยที่แท้จริงจะต้องเปลี่ยนในเรื่องเหล่านี้ด้วยคือ วิชาการความรู้ที่สู้เขาได้ ประกอบอาชีพได้ คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียน การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ นั้นคือการเปลี่ยนแปลงที่สมกับพระนาม "วิทยาลัยนวมิทราชินีแม่ฮ่องสอน" ไม่ได้พิมพ์ผิดแต่ตั้งใจพิมพ์อย่างนั้น หากมีการประกาสใช้ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.๒๕๕๑ จะเสนอเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยด้วย คนชอบการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันแต่เปลี่ยนอย่างมี เหตุและผล เปลี่ยนแล้วได้อะไร ขอให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนแปลงตอบตนเองให้สมเหตุผล วิทยาลัยฯเปลี่ยนให้แน่นอน

ติดตามงานที่ ผอ.มอบหมายแผนกช่างก่อสร้าง

ติดตามงานที่ ผอ. มอบหมายให้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๓
ผู้รับผิดชอบรับมอบหมายไปดำเนินการ อ.ชัยสิทธิ์ สง่างาม อ.วัฒวุฒิ และ อ.จุฑามาศ นามงานของพัสดุและอาคารสถานที่ อ.พิรามเป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่หัวหน้างานนี้ ประสานติดตามครั้งที่ ๑ วันที่ ๖ กพ. ติดตามครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๑ กพ. เรื่องที่ติดตามมีดังนี้
๑.ประมาณการปูพื้นลานอาคารอำนวยการและทางเดิน และทาสีภายใน(ผลการติดตาม ผอ.อนุมัติแล้ว)
๒.แบบรั้วหน้าวิทยาลัยฯที่จะลดระดับลงเพื่อเสนอนายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน
๓.ประมาณการปูพื้นบริเวณหน้าห้องน้ำอาคารศูนย์วิทยบริการทั้งสองฝั่งที่ยังปูไม่เต็ม(ผลการติดตาร ผอ.อนุมัติแล้ว)
๔.แบบชั้นลอยอาคารอำนวยการชั้นสองทั้งสองข้าง
๕.แบบอาคาร เวร - ยาม และสถานที่บริการกาแฟนวมินทร์ข้างบ้านพักผู้อำนวยการแทนหลังเก่า
๖.ประมาณการปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วมอาคารเรียนตึกแผนกไฟฟ้า ช่างยนต์ แผนกวิชาช่างอิเล็คทรอนิคส์ เทคนิคพื้นฐาน อาคารเอนกประสงค์โรงอาหารและตึกอำนวยการทั้งชั้สองและชั้นหนึ่ง
๗. การสำรวจบริเวณพื้นที่นาสร้อยแสงเพื่อเตรียมการแบ่งดำเนินการของบประมาณมาดำเนินการเป็นบางส่วนของโครงการวิทยาลัยการท่องเที่ยวที่ได้ศึกษาโครงการเกี่ยวกับพื้นที่แล้วซึ่ง ผอ.ได้มอบหมายแผนกวิชาการก่อสร้างดำเนินการจากการบูรณาการการเรียนการสอนของนักศึกษาพร้อมกันนี้ได้ประสานแจ้งให้ อ.วัฒวุฒิและอ.พิรามทราบแล้ว

ทดสอบการนำเสนอ vdo.

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ร่วมการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐



ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดแรงงานและศึกษาต่อสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้น
นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนที่จะจบการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ จำนวนที่จะจบทั้งสองระดับการศึกษา ประมาณ ๓๐๐ กว่าคน วิทยาลัยฯได้จัดการปัจฉิมนิเทศให้โดยฝ่ายพัฒนาการศึกษา งานแนะแนวให้เพื่อนักเรียน นักศึกษาจะได้มีแนวทางในการศึกษาต่อและการทำงานต่อไปในอนาคต
โดยท่านผู้อำนวยการไพรัช วิมาลาเป็นประธานในพิธีเปิด และมีวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้และประสบการณ์ก่อนที่จะจบการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน











































๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
การประชุมสัมนาพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนสัญจรครั้งที่ ๑ เพื่อปรับบทบาทการจัดการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่จะมีผลบังคับใช้หลังจากลงโปรดเกล้าฯ เพื่อให้บุคลากรมีการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกันและการเตรียมการในเรื่องของการเป็นสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาตาม พระราชบัญญัติ ฯในอนาคต
โดยการนำของท่านผู้อำนวยการฯไพรัช วิมาลาได้กรุณาอนุมัติโครงการและเป็นประธานในการเปิดงานในครั้งนี้
ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สถานที่จากหัวหน้าจำนงค์ หัวหน้าโครงการตามพระราชดำริป่าไม้ปางตอง ๒
(ปางอุ๋ง)
ท่านวิทยากรจากท่านผู้อำนวยการประดิษฐ์ บุดดีจีน ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนพิจิตร
ท่านผู้อำนวยการบุญเลิศ สัสสี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชพปากช่องกรุณามาบรรยาในหัวข้อเรื่องการบริหารจัดการโดยชุมชนมีส่วยร่วม และ พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้กับบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
เวลา ๐๗.๓๐
เดินทางออกจากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วย ผู้อำนวยการไพรัช วิมาลา รองฯชูเกียรติ รองฯศุภชัย ไปรับวิทยากรสองท่าน คือ อธิการการวิทยาลัยชุมชนพิจิตร นายประดิษฐ์ บุดดีจีน และคุณณรงค์ มั่นคง ผู้จัดการ บริษัทลอกซ์เลย์ สาขาเชียงใหม่ ที่ โรงแรมธารา เพื่อเดินทางไปที่โครงการตามพระดำริป่าไม้ปางตอง ๒(ปางอุ๋ง) และรองฯศุภชัย ได้เดินทางไปรับ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพปากช่อง นายบุญเลิศ สัสสี ซึ่งจะเดินทางมาถึง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลา ๑๐.๔๐ น.
เริ่มบรรยายโดยท่านอธิการวิทยาลัยชุมชนจังหวัดพิจิตร ได้บรรยายในหัวข้อการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังจากบรรยายจบ เวลา ๑๒.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวันความรู้ที่ได้รับฟังจากการบรรยายในครั้งนี้ ทำให้ทราบแนวทางในการประสานงาน กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีส่วนที่สำคัญอยู่ ๓ ส่วนคือ
๑.ส่วนของรัฐบาล
๒.ส่วนของท้องถิ่น
๓.ส่วนของผู้ที่มีส่วนได้เสียการจัดการศึกษาต้องมีเป้าหมายและคุณภาพที่ชัดเจน สถานศึกษา ต้องมี องค์คณะบุคคล เพื่อกำหนด นโยบาย แผนงาน ของสถานศึกษา ความศรัททรา ความร่วมมือ ความเชื่อถือ เกิดจากที่ประชุม มติที่ประชุมการจัดการศึกษาในอาชีวศึกษา ควรมีการสร้าง พัฒนา ผู้เรียนก่อนที่จะเข้ามาเรียนที่สถานศึกษาของเรา การไปพัฒนาผู้เรียนก่อนเข้าเรียน สามารถทำได้หลายแนวทาง ไม่ว่าขับเคลื่อนโดยหลักสูตรแกนมัธยม หรือหลักสูตรระยะสั้น
คุณลักษณะของบุคลากรยุคใหม่
๑.ในเรื่องของภาษา และการสื่อสาร-มีทักษะพื้นฐานภาษาไทย เป็นอย่างดี-มีทักษะ ภาษาอังกฤษ พื้นฐาน-มีทักษะภาษาท้องถิ่น-มีทักษะคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี๒.ต้องเชื่อในหลักความสามัคคี (การทำงานเป็นทีม)-การทำงานต้องช่วยกัน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่นักศึกษา องค์กร ก่อนที่จะนึกถึงว่า ตนเองทำแล้วจะได้อะไร ต้องเปลียนแนวคิด ในการทำงานว่า ทำแล้ว ผู้เรียนได้อะไร องค์กรได้อะไร การทำให้เพื่อผู้อื่น คือการให้ มีมีความสุข-การทำงานต้องรับฟัง เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
๓.พร้อมที่จะปรับตัว กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง-อย่ายึดติดกับปัญหาเดิม
เวลา ๑๓.๓๐ น.ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพปากช่อง นายบุญเลิศ สัสสี ได้บรรยายเรื่อง พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งได้กระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางมายังสถานศึกษา ซึ่งขณะนี้ ทางสำนักงานคณะกรราการการอาชีวศึกษา ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อออกกฎ ข้อระเบียบ ต่างๆ เพื่อรองรับ พรบ.ฉบับนี้ สาระที่สำคัญส่วนหนึ่ง ของ พรบ.ฉบับนี้ นี้ คือเรื่องของการตั้งสถาบัน ซึ่งมีแนวมางอยู่ ๓ แนวทาง คือ
๑.สถาบันเฉพาะทาง
๒.หลายๆสถานศึกษารวมกันเป็นสถาบัน
๓.หลักการสร้างสถาบัน
๑).ต้องสร้างความเข้มแข็งในองค์กร ทุกคนต้องรวมกันเป็น หนึ่งเดียว
๒).มีการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่
๓).ต้องมีการสร้งความร่วมมือ กับชุมชนให้ได้ประโยชน์ที่ได้รับจากการฟังบรรยายในครั้งนี้ ทำให้ทราบแนวทาง เพื่อเตรียมตัว กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในเรื่องของการจัดตั้งสถาบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ จะต้องทำ แนวทางของการตั้งสถาบันของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรเป็นจังหวัดเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปรวมกับจังหวัดอื่นๆ ที่สำคัญเราต้องสร้างคุณภาพของการศึกษาให้ได้ เป็นที่ยอมรับของชุมชน และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
กิจกรรมในตอนค้ำมีการเลี้ยงสังสรรค์ ในบรรยากาศแบบกิจกรรมสัมพันธ์เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่พี่น้องเราชาวนวมินทราชินีแม่อ่องสอน ได้มีความสุข สนุกสนานด้วยกัน พี่ๆ น้องๆ เพื้อนพ้องได้มาร่วมงาน ช่วยงานกันอย่าง เต็มที่ และได้มีกิจกรรมรอบกองไฟ มีหมูย่าง รสเด็ด และข้าวหลามไว้บริการตลอดคืน กิจกรรมสัมพันธ์ที่ลืมไม่ได้โดยเฉพาะรองฯวิศาลกับครูพงษ์ศักดิ์ และที่ยอดเยี่ยมอีกอย่างคือ การบริการ ป็อกซ่า สูตรเด็ด ของครูจอย และครูยุ้ยขอขอบคุณ คณะครู เจ้าหน้าที่ ทุกท่าน ที่ช่วยกันทำงาน ให้งานนี้ผ่านไปได้อย่างดียิ่ง กิจกรรมบรรยากาศแบบนี้ คงจะมีกันอีก ในภาคเรียนต่อๆไป

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร



๒๑ กพ. ๕๑
เวลา ๐๗.๐๐ น.
ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรร่วมกับส่วนราชการในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีศพพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ครบ ๕๐ วัน จังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดจัดการทำบุญโดยนายวันชัย วงค์เหรียญทองผูว่าราชการจังกวัดแม่ฮ่องสอนและหัวหน้าส่วนราชการ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนนำโดยท่าน ผอ.ไพรัช วิมาลา รองฯศุภชัย อ.อุไร อ.ธนพร อ.วัฒวุฒิ ณบริเวณวัดอารามหลวง วัดจองคำ