โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ ๒๐๐๐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๑. ทิศทางในอนาคตของการจัดการอาชีวศึกษา ๒. สภาพปัญหาในปัจจุบันของการอาชีวศึกษา
วันที่ ๒๖ - ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
การประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรื่องการศึกษาเพื่อโลกอาชีพ : Education for the world of work ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นิทรรศการมิติการพัฒนาครูสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ "...ครูที่แท้นั้น เป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่รเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ความเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..." ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี ๒๕๕๒ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ "คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ" เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเน้นประเด็นหลัก ๓ ประการ ๑. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย ๒. โอกาสการศึกษาและเรียนรู้ ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและการจัดการ คุณลักษณะของคนไทยยุคใหม่หลังการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ๒) มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ๓) มีจิตสาธารณะมีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมสามารถทำงานเป็นกลุ่ม ๔) มีศิลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
การประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรื่องการศึกษาเพื่อโลกอาชีพ : Education for the world of work ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นิทรรศการมิติการพัฒนาครูสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ "...ครูที่แท้นั้น เป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่รเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ความเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..." ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี ๒๕๕๒ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ "คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ" เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเน้นประเด็นหลัก ๓ ประการ ๑. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย ๒. โอกาสการศึกษาและเรียนรู้ ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและการจัดการ คุณลักษณะของคนไทยยุคใหม่หลังการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ๒) มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ๓) มีจิตสาธารณะมีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมสามารถทำงานเป็นกลุ่ม ๔) มีศิลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น