วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการกลุ่มอุสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ

วันที่ ๑๕ - ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
ร่วมประชุมโครงการความร่วมมือผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาตอบสนองภาคการผลิตและบริการในสาขาสุขภาพและการท่องเที่ยว ณ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จัดโดยสำนักความร่วมมือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑.ทบทวนตัวชี้วัดของโครงการ - จำนวนนักเรียน นักศึกษา, - ความร่วมมือกับสถานประกอบการ, - ร้อยละของการมีงานทำของนักเรียน นักศึกษาจากการจบการศึกษา, - สถานศึกษาต้นแบบ จำนวน ๓๐ แห่ง ( สาขาบริการสุขภาพ,สาขาการท่องเที่ยว, สาขาการโรงแรม, สาขาการปิโตรเลี่ยม, สาขาอัญมณี, สาขาการขนส่ง Logistic และสาขาอาหาร) สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมี(๑)การจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ (๒) มีการพัฒนาครูและบุคลากร (๓) มีแผนการรับนักเรียน ระดับ ปวช. ปวส. (๔) มีโครงการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ สถานศึกษาที่เข้าร่วมแยกตามสาขาวิชาดังนี้ การบริการสุขภาพ วก.เชียงราย วก.ปัว วช.อุตรดิษถ์ วอศ.สุรินทร์ วช.นครราชสีมา วกท.นครราชสีมา วช.อุดรธานี วกท.อุดรธานี วก.บ้านโป่ง วกท.กท. วช.นครปฐม และวก.บางละมุง การท่องเที่ยว วก.นวมินทราชินี มส. วอศ.เชียงราย การโรงแรม วอศ.กาญจนบุรี วอศ.เชียงใหม่ วท.กระบี่ วอศ.สุราษฏร์ธานี วอศ.ภูเกต วท.ระนอง วก.ท้ายเหมือง และวอศอุดรธานี
๒. การนำเสนอผลการดำเนินโครงการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาตอบสนองภาคการผลิตและบริการในสาขาบริการสุขภาพและการท่องเที่ยว โดย สถานศึกษาที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ
๓. การสมัมมนาเรื่องความต้องการกำลังคนและมาตรฐานอาชีพกลุ่ม Hospitality โดยผู้แทนจาก สมาคมโรงแรมไทย โดยคุณศักรินทร์ ช่อไสว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวไทย โดยคุณเสงี่ยม เอกโชติ สมาคมสปาไทย โดยคุณนภารัตน์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
๔. ข้อมูลที่จะต้องแจ้งสนักความร่วมมือคือ *) จำนวนนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. ระยะสั้นแบบเทียบโอนประสบการณ์ ( ๒๐ : ๒๐ : ๒๐ ) *) การพัฒนาบุคลากร *) โครงการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ และการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ
จากการประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้เห็นแบบอย่างของการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ครบวงจรในการจัดกิจกรรมเรื่องของการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสุขภาพ เกี่ยวกับเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ การบำบัดโดยใช้วิธีการธาราบำบัด กายภาพบำบัดด้วยวิธีการอบสมุนไพร บำบัดด้วยอุปกรณ์เฉพาะจักรยาน สายพานวิ่ง และการจัดการเรียนร่วมกับสถานประกอบการเรื่องของการนวดไทย การนวดฝ่าเท้า การนวดน้ำมัน การบำบัดด้วยกลิ่น สรุปเรื่องของการบำบัดพอสรุปได้คือ * หัตถบำบัด * วารีบำบัด * อโลมาบำบัด * โภชนาบำบัด ( บำบัดด้วย การนวด น้ำ กลิ่น และอาหาร )

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนการสอนแบบ project base

วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๒.๒๐ น. รับการติดตามประเมินผลจากศึกษานิเทศ ศูนย์ส่งเสริมฯภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ติดตามประเมินผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนตามโครงการ project base ของวิทยาลัยที่ร่วมโครงการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยแผนกวิชาช่างยนต์และช่างก่อสร้าง

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมการทำงานในวันนี้

วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๐๙.๕๐ น. ร่มพิธีเปิดกิจกรรมวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือและวัน กศน. ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

เวลา ๑๓.๓๐ น. ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสังคมด้นการศึกษาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ ณ ห้องประชุม ๒ สิงหนาทบำรุง ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑. ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทยปี ๒๕๕๑ (พมจ.)
๒. รายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี ๒๕๕๓ (พมจ.)
๓. การพัฒนาระบบงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมของอาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ (พมจ.) โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพัฒนาสังคมแความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๔. การรายงานสถิติ/ข้อมูล/สถานการณ์และการวางแผนเฝ้าระวังในสถานศึกษา(ระบบดูแลนักเรียน)ของสถานศึกษา
๕. แนวทางการเฝ้าระวังและเตือนภัยในสถานศึกษา การติดต่อประสานงานในการแก้ไขปัญหา

ประชุมสัมมนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

วันที่ ๕ - ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ร่วมประชุมสัมมนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ จุดที่ ๓ จังหวัดเชียงราย ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
๑) คุรุสภากับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒
๒) บทบาทและภารกิจของคุรุสภาตาม พ.ร.บ. สภาครูฯ
๓) เสวนาความก้าวหน้างานคุรุสภา
- มาตรฐานวิชาชีพ
- จรรยาบรรณของวิชาชีพ
- การควบคุมการประกอบวิชาชีพ
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- การพัฒนาและการยกย่องวิชาชีพ
- ช่องทางการประชาสัมพันธ์งานคุรุสภา
๔) การระดมความคิดเห็นในเรื่อง
- บทบาทของคุรุสภาในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒
- มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
- การพัฒนาส่งเสริมและการยกย่องวิชาชีพ
- การออกและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- การประชาสัมพันธ์งานคุรุสภา
- ขวัญและกำลังใจในการประกอบวิชาชีพ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

แผนยุทธศาสตร์ ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๖๑

วันที่ ๑- ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาและของอาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนฯที่ทำไปเป็นการเตรียมการภาคปฏิบัติของสถานศึกษาและอาชีวศึกษาจังหวัดเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ตามรายละเอียดที่กำหนดเรื่องที่จะต้องปฏิรูป กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ได้แง่คิดให้กับ สอศ. จากการพูดของท่านอานันท์ ปันยารชุน ประธานกรรมการปฏิรูป กล่าวเปิดงาน " ๒๐ ปี ๒๐ วันสืบ นาคะเสถียร" จัดโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ตอนหนึ่งว่า ๒๐ ปีที่แล้วสืบ นาคะเสถียร ได้พยายามนำเสนอประเด็นในเรื่องสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และสัตว์ป่า ผ่านสื่อและเวทีต่างๆ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ แต่ไม่มีใครสนใจ เพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทุกวันนี้ทุกคนรู้แล้วว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ "สืบ"อยู่ในระบบราชการและพยายามทำตามระบบซึ่งเป็นระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นระบบที่ยึดติดกับอำนาจ เงินทุน และกฎหมาย ซึ่งหลายครั้งที่กฎหมายถูกใช้อย่างไม่ตรงตามเจตนารมณ์และเกิดผลกระทบตามมาอย่างมาก ระบบราชการของเรายังล้าหลัง จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปฎิรูป วันนี้เราพูดถึงการกระจายอำนาจ แต่เป็นการกระจายอำนาจจากหน่วยราชการส่วนกลางไปยังหน่วยราชการส่วนภูมิภาคเท่านั้น อย่างไรก็ตามการกระจายอำนาจหมายถึงการกระจายสิทธิไปยังชุมชนและเรื่องนี้ไม่ใช่การทำทาน แต่ถือเป็นสิทธิที่ต้องให้ประชาชนเพราะเขามีอำนาจในการขอพื้นที่ทางการเมือง พื้นที่ความเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย"ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีคิดเรื่องนี้อีก ๒๐ ปีข้างหน้าก็ยังต้องพูดเรื่องเดิมอีก ผมหวังว่าเราจะไม่ปล่อยให้ "สืบ"ต้องเดียวดายทุกคนต้องตระหนักเสมอว่าเวลาในชีวิตที่เหลือยู่นี้ เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของสังคมไทย สิ่งที่ต้องทำคือการเปลี่ยนแปลงอำนาจของระบบราชการกับประชาชน อำนาจเงินทุนกับประชาชน อำนาจระหว่างผู้บริหารกับประชาชนและ อำนาจระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งเรื่องนี้ต้องไม่พูดเพื่อแสดงความฝันเท่านั้น แต่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยให้ได้" นายอานันท์ กล่าวสิ่งที่ สอศ. จะต้องรีบดำเนินการคือการปฏิรูประบบของการบริหารอย่างจริงจัง คือการกระจายอำนาจลงสู่ภูมิภาค(สถาบันการอาชีวศึกษา)หากจะให้ดีลงสู่สถานศึกษาได้ยิ่งดี และให้ได้โดยเร็ว ไม่ให้ใช้การบริหารแบบศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางซึ่งผู้บริหารทั้งหลายก็เห็นอยู่แล้วที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการบริหารงบประมาณ หากขับเคลื่อนล่าช้านานเท่าไร อาชีวศึกษาก็จะยิ่งพัฒนาช้าไปเท่านั้น โดยกลไกการแทรกแซงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนอกเหนือการควบคุม ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคของการพัฒนา การปฏิรูปทั้งสิ้น ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เห็นหรือยังครับท่านทั้งหลายการเมืองเข้ามาล้วงการบริหารจัดการภายใน สอศ. ทำให้เกิดการย้ายที่ไม่เคยมีมาก่อนใช้หลักการอะไรในการพิจารณาไม่พ้นคำว่าเพื่อความเหมาะสม เพียงเพราะไม่สนองความต้องการของนักการเมืองเท่านั้นแหละถ้าหาก สอศ.ไม่อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดซ้ำซากต้องรวมพลังในการจัดตั้งสถาบันให้ได้ตามเจตนารมในการพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา แล้วองค์กรเหล่านี้กำลังทำอะไรอยู่ สมาพันธ์ครูอาชีวศึกษา สมาคมผู้บริหารอาชีวศึกษาใครเป็นผู้รับผิดชอบบทบาทขององค์กรบ้างไม่เห็นมีแถลงการณ์อะไรบ้างหรือว่าการขับเคลื่อนเรื่องของการแทรกแซงการบริหารเหล่านี้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นหรือว่าอย่างไร

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วันครูโลกครั้งที่ ๕

วันที่ ๒๙ - ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ ๒๐๐๐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๑. ทิศทางในอนาคตของการจัดการอาชีวศึกษา ๒. สภาพปัญหาในปัจจุบันของการอาชีวศึกษา
วันที่ ๒๖ - ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
การประชุมสมัชชาการศึกษานานาชาติแห่งประเทศไทย เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรื่องการศึกษาเพื่อโลกอาชีพ : Education for the world of work ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นิทรรศการมิติการพัฒนาครูสู่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ "...ครูที่แท้นั้น เป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่รเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจให้มั่นคงแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ ความเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งด้านวิทยาการและความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล..." ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจำปี ๒๕๕๒ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ "คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ" เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเน้นประเด็นหลัก ๓ ประการ ๑. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย ๒. โอกาสการศึกษาและเรียนรู้ ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและการจัดการ คุณลักษณะของคนไทยยุคใหม่หลังการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ๒) มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ๓) มีจิตสาธารณะมีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมสามารถทำงานเป็นกลุ่ม ๔) มีศิลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และสามารถก้าวทันโลก กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ ๒ ๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๒) พัฒนาครูยุคใหม่ ๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่