วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

สัมนาสำนักอำนวยการสัญจร




วันที่ ๘-๙ มกราคม ๒๕๕๒
การสัมนาสำนักอำนวยการสัญจร ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง โดยมี ผอ. เริงจิตร์ มีลาภสม เป็นประธานในการประชุม จากการกล่าวเปิดประชุมและการบรรยายเบื้องต้นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างสถานศึกษาและสำนักอำนวยการคิดว่าเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
๑. การปฏิรูประบบราชการที่เป็นการพัฒนาระบบราชการแล้วทำให้มีการรวมกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกันและมีลักษณะของงานใกล้เคียงกันจึงทำให้เป็นองค์กรที่ใหญ่ มีปัญหาทางด้านการสื่อสารกับสถานศึกษา ส่วนหนึ่งบุคลากรที่รับผิดชอบงานของสถานศึกษายังไม่ชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบจึงใช้การแก้ปัญหาโดยการโทรศัพท์สอบถามโดยตรงไปยังส่วนกลางก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่วนกลางจะต้องคำนึงถึง
๑.๑. การกระจายอำนาจตาม ที่เป็นหลักการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาคตามที่ระบุใว้ในหลักการกระจายอำนาจ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการศึกษา ๒๕๔๒ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ไม่ว่าจะเป็นระดับสถานศึกษา ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ระดับสถาบันการอาชีวศึกษา
๑.๒.การปฏิรูปบุคคลที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานซึ่งบุคคลยังใช้วัฒนธรรมการทำงานในการตั้งรับยึดตัวตนเป็นสำคัญไม่ได้ยึดงานเป็นที่ตั้ง
๑.๓. การพัฒนาระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง การทำให้องค์กรเป็นองค์กรผุ้นำทาง IT. อย่างแท้จริงตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและสถานศึกษาโดยบุคลากรที่มีคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒. รัฐมนตรีและรัฐมนตรีและการรับผิดชอบงานของแต่ละคนคือ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๔/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งและปฏิบัติราชการแทน
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น เพื่อให้การดำเนินงานในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบังเกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๔๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ จึงมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทน ดังต่อไปนี้
๒.๑. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ องค์กรในกำกับ และภารกิจอื่น ดังต่อไปนี้
๒.๑.๑ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๒.๑.๒ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
๒.๑.๓ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒.๑.๔ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
๒.๑.๕ การตอบกระทู้ถาม ชี้แจงญัตติ การเสนอและชี้แจงกฎหมาย หรือภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรัฐสภา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือภารกิจอื่นที่รับผิดชอบ ในข้อ ๑.๑ - ๑.๔ ๑.๖ งานอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
๒.๒. นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งและปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและองค์กรในกำกับ และภารกิจอื่น ดังต่อไปนี้
๒.๒.๑ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๒.๒.๒ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
๒.๒.๓ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
๒.๒.๔ การตอบกระทู้ถาม ชี้แจงญัตติ การเสนอและชี้แจงกฎหมาย หรือภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรัฐสภา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือภารกิจอื่นที่รับผิดชอบ ในข้อ ๒.๒.๑ - ๒.๒.๓ ๒.๒.๕ งานอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย ในการสั่งและปฏิบัติราชการแทนดังกล่าว ให้ยกเว้นเรื่องนโยบาย เรื่องการบริหารงานบุคคล เรื่องที่เป็นการริเริ่มงานใหม่ เรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่ระบุว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง เรื่องที่จะต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา และเรื่องที่สมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาสั่งการ เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิบัติราชการแทนตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อนึ่ง อำนาจการสั่งและปฏิบัติราชการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในองค์กรหลักและองค์กรในกำกับต่างๆ มีดังนี้ ๑. สำนักงานรัฐมนตรี ๒. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๓. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๔. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๕. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๖. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๗. สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องเร่งดำเนินการภายใน 1 ปี คงต้องคำนวณงบประมาณเป็นหลัก จึงจะทราบว่าจะสามารถจัดการเรื่องใดได้บ้าง อย่างไรก็ตามเรื่องสำคัญคือต้องผลักดันนโยบายเรียนฟรี ให้ฟรีจริงและต้องฟรีอย่างมีคุณภาพ ส่วนเรื่องอื่น ๆ คงต้องรอดูรายละเอียดอีกครั้งว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร นอกจากนี้ ด้วยความที่ตนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตาก เห็นปัญหาการขาดการศึกษาของเด็กชายขอบ หรือเด็กที่ด้อยโอกาส มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นคิดว่าจะเข้าไปดูแลปัญหานี้อย่างจริงจัง ส่วนเรื่องการพัฒนาครูก็เป็นเรื่องสำคัญ จะเข้าไปดูแลเรื่องหนี้สินนอกระบบ รวมถึงค่าตอบแทนที่ครูควรจะได้รับ ตลอดจนการตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพ ชีวิตครูเพื่อให้ครูเป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มีอาชีพเป็นครู
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังมอบนโยบาย ว่า โดยส่วนตัวแล้วไม่รู่สึกหนักใจที่ได้มีทำหน้าที่ตรงจุดนี้ ที่ผ่านมาก็เคยร่วมงานกับข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการที่ตนเคยเป็นอาจารย์สอนหนังสือมาก่อนจึงเข้าใจจิตใจของครูดี เพราะครูจะเป็นผู้ให้และมองอนาคตของเด็ก และเห็นว่าเด็กแต่ละพื้นที่ก็เก่งไม่เหมือนกัน เนื่องจากได้รับความรู้ที่ต่างกัน ดังนั้นควรจะต้องนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนยังตอบไม่ได้ว่าอยากดูแลงานขององค์กรใด ต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแบ่งงานและแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนแล้วค่อยมาวานนโยบายในการทำงานร่วมกัน “กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ใหญ่และสำคัญต่อประเทศชาติ เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านต่างๆ ดังนั้นหากต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของเด็กต้องรู้ถึงข้อมูลพื้นฐานเพื่อเสริมความรู้ให้เหมาะสมต่อไป” รมช.กล่าว
๓.หน้าที่รับผิดชอบของรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั้ง ๓ คนได้แจ้งให้สถานศึกษาทราบแล้ว
๔.การตั้งศูนย์ข้นภายในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขึ้นอีก ๓ ศูนย์

ไม่มีความคิดเห็น: