วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

จังหวัดแม่ฮ่องสอนร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน และสำนักพระพุทธศาสนาแม่ฮ่องสอนจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน - ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๘๙ รูป ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยการบำเพ็ญคุณ ความดีและปฏิบัติธรรม ถวายพระราชกุศล เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน ในชาติให้ดำเนินตามรอยพระยุคลบาท และเพื่อมุ่งเน้นการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชน ให้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น พระนวกะจำวัดระหว่างอุปสมบท ณ วัดดังต่อไปนี้
๑ วัดพระธาตุดอยกองมู จำนวน ๒๓ รูป
๒ วัดม่วยต่อ จำนวน ๒๒ รูป
๓ วัดก่ำก่อ จำนวน ๒๒ รูป
๔ วัดพระนอน จำนวน ๒๒ รูป
ลาสิกขาบทวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลา ๑๐।๐๐ น.
พิธีปรงผม































วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชุมแทน ผอ.

เวลา ๑๐.๐๐น.
ประชุมเตรียมการจัดงานฤดูหนาวและรื่นเริง ประจำปี ๒๕๕๕ ที่ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน การกำหนดชื่อของงาน การกำหนดวันที่ จัด ๑๓ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕ กำหนดจัดสถานที่บริเวณถนนบริบาลเมืองสุข เริ่มตั้งแต่แยกบริษัทโตโยต้า ถึงหน้าวัดกลางทุ่ง กิจกรรมของทางหน่วยงานราชการ กิจกรรมเสี่ยงโชคร้านมัฉแกชาด กิจกรรมรื่นเริงบนเวที มหกรรมสินค้าราคาถูกเพื่อเป็นรางวัลให้กัพี่น้องชาวแม่ฮ่องสอน

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โอกาสร่วมประชุมเครือข่ายสมาพันธ์สมาคมครูภาคเหนือ

ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
เข้าร่วมประชุผู้แทนสมาชิก สกสค. ของแต่ละสังกัด และเครือข่ายสมาพันธ์ สมาคมครูภาคเหนือที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากเรื่องโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือการแก้ปัญหาหนี้สินครูวงเงินไม่เกิน สามล้านบาท รายละเอียดหลักเกณฑ์ปรากฏตามเว็ปไชค์ของสำนักงาน สกสค. และเว็ปไชค์ของแต่ละจังหวัด จัดประชุม ณ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน (ราษฎรบำรุง) อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากซึ่งมีดีที่อวดได้คือการบริหารจัดการเรื่องของอาคารสถานที่ โดยเฉพาะห้องน้ำห้องส้วมที่ได้รับชนะเลิศการประกวดห้องน้ำตามโครงการพัฒนาส้วมสาธารณะ สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดตาก กระทรวงสาธารณสุข






































วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๑๒

สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม โดย นายปราโมทย์ ไม้กลัด
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่และความวิปริตผันแปรของธรรมชาติ แต่ในบางท้องที่ การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยนั้นมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังต่อไปนี้
น้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก
น้ำฝนเป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ปรากฏบนผิวโลก เมื่อฝนตกลงมาบนผิวดิน จะมีน้ำบางส่วนขังอยู่บนผิวดิน และบางส่วนซึมลงไปสะสมอยู่ในดิน ครั้นเมื่อมีฝนตกมากขึ้นน้ำจะไม่สามารถซึมลงไปในดินหรือขังอยู่บนผิวดินได้หมด จึงเกิดน้ำไหลนองไปบนผิวดินซึ่งรวมแล้วจะมีปริมาณมากหรือน้อยสัมพันธ์กับปริมาณและพฤติกรรมของฝนที่ตกเสมอ จากนั้นน้ำจะไหลลงสู่ที่ลุ่มต่ำ ลำน้ำลำธารแล้วไหลลงสู่แม่น้ำและทะเลต่อไป ฝนในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้มาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากพายุหมุนที่เกิดในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นพายุจรที่พัดมาทางทิศตะวันออกของประเทศ ได้แก่ พายุไต้ฝุ่นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชัน เป็นหลัก ตลอดจนฝนที่นำมาโดยพายุหมุนซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในอ่าวเบงกอลแล้วพัดผ่านประเทศไทย พายุที่นำฝนปริมาณมากเข้ามาตกตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยจนเกิดน้ำท่วมใหญ่และอุทกภัยในแต่ละปีนั้นจึงได้แก่พายุจรที่พัดมาทางทิศตะวันออกผ่านประเทศไทย และพายุหมุนที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในอ่าวเบงกอลนั่นเอง ฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น มักเริ่มตกในภาคกลางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณเดือนมิถุนายน ตามจำนวนพายุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในทะเลจีนใต้ ครั้งถึงเดือนกรกฎาคมแนวทางของพายุมักเคลื่อนไปอยู่ในแนวเหนือประเทศไทย พอถึงเดือนสิงหาคมพายุจรนี้จะมีแนวพัดผ่านเข้ามาในประเทศไทยอีก แล้วมีแนวร่นต่ำลงมาทางภาคกลาง และภาคใต้ตามลำดับตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ทำให้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ตลอดจนภาคอื่นๆ ได้รับฝนตกหนักเนื่องจากอิทธิพลของพายุจรแต่ละประเภทดังกล่าว แล้วเกิดน้ำไหลบ่าบนผิวดินและไหลลงสู่ลำธารและแม่น้ำมีปริมาณมาก จนบางปีถึงกับเกิดน้ำท่วมใหญ่ และเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในท้องที่ต่างๆ ส่วนพายุหมุนจากอ่าวเบงกอลจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและพัดผ่านเข้ามาตามแนวทิศตะวันตกของประเทศไทยในบางปี โดยนำฝนมาตกในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนของแม่น้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำสะแกกรัง ฯลฯ หากปีใดพายุดังกล่าวมีกำลังแรง ก็จะนำฝนมาตกตามแนวทางที่พายุพัดผ่าน และทำให้เกิดอุทกภัยในระยะช่วงต้นฤดูฝนได้ สภาพของฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยทั่วไปจะมีอิทธิพลโดยตรงต่อจำนวนน้ำที่เกิดขึ้นในลำธารและแม่น้ำ ปริมาณจะน้อยหรือมากเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความเข้มของฝนที่ตก ระยะเวลาที่ฝนตก และการแผ่กระจายของฝนที่ตกในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ ดังรายละเอียดซึ่งได้กล่าวแล้วในเรื่องการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร แผนที่ประเทศไทยแสดงทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุที่พัดผ่านประเทศไทยในเดือนต่าง ๆ
ลักษณะและส่วนประกอบของพื้นที่ลุ่มน้ำ
๑. รูปร่างของพื้นที่ลุ่มน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดน้ำท่วมมากหรือน้อยแตกต่างกัน ดังนี้ ๑) พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปขนนก" จะเกิดปัญหาน้ำท่วมหรืออุทกภัยในบริเวณที่ลุ่มไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะน้ำฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำของแต่ละแควสาขาจะทยอยไหลลงสู่ลำน้ำสายใหญ่ในเวลาที่ไม่พร้อมกัน ๒) พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีรูปร่างค่อนข้างกลม หรือเป็นรูปพัดเรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปกลม" จะมีลำน้ำสาขาไหลลงสู่ลำน้ำสายใหญ่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งจากโดยรอบเป็นรัศมีของวงกลมพื้นที่ลุ่มน้ำลักษณะนี้ น้ำจากลำน้ำสาขาต่างๆ มักจะไหลมารวมกันที่ลำน้ำสายใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกัน จึงทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่บริเวณลำน้ำสาขาบรรจบกันเสมอ ๓) พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำสองส่วนรวมกัน เรียกว่า "ลุ่มน้ำรูปขนาน" มักจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณพื้นที่ตอนล่างจากจุดบรรจบของพื้นที่ลุ่มน้ำสองส่วนนั้น ๒. สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ลุ่มน้ำ ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำ ความยาวและความกว้างของพื้นที่ลุ่มน้ำโดยเฉลี่ย ระดับความสูง ความลาดชันของลำน้ำ และความลาดชันของพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งแนวทิศทางของพื้นที่ลุ่มน้ำ ล้วนมีอิทธิพลโดยตรงต่อการเกิดน้ำท่าและการเกิดน้ำท่วมตามที่ลุ่มต่างๆ เมื่อมีฝนตกหนักเสมอ ๓ ชนิดของดิน สภาพพืชที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่และความเสื่อมโทรมของพื้นที่ลุ่มน้ำ ชนิดและขนาดของเม็ดดิน ลักษณะการเกาะรวมตัวและการทับถมของดินตามธรรมชาติ เป็น ปัจจัยที่จะทำให้การไหลซึมของน้ำลงไปในดินมีปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกัน เช่น ดินทราย และกรวดจะสามารถรับน้ำให้ซึมลงไปในดินได้มากกว่าดินที่มีเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวซึ่งยอมให้น้ำซึมผ่านผิวดินลงไปได้น้อยมาก ดังนั้นเมื่อฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำที่ผิวดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว น้ำฝนเกือบทั้งหมดก็จะไหลไปบนผิวดินลงสู่ที่ต่ำ ลำธาร และแม่น้ำทันที และเป็นเหตุทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นได้โดยง่าย ส่วนพืชที่ปกคลุมดินและสภาพการใช้ที่ดินในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาน้ำท่วมตามท้องที่ต่างๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน เช่น การบุกรุกแผ้วถางป่าไม้อันเป็นทรัพยากรหลักในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทั่วไป โดยปราศจากการควบคุม ย่อมทำให้ผิวดินส่วนใหญ่ขาดสิ่งปกคลุมในการช่วยดูดซึมน้ำ หรืออาจทำให้ผิวดินนั้นแน่นขึ้น ซึ่งจะมีผลให้เกิดน้ำไหลบ่าไปบนผิวดินอย่างรวดเร็ว จนกัดเซาะพังทลายดินผิวหน้าให้เสื่อมคุณภาพ และอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลันในบริเวณพื้นที่ลาดชันตอนล่างได้ ในช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนพื้นที่ชายทะเลที่มีระดับน้ำสูงใกล้ตลิ่งจะเกิดภาวะน้ำท่วมเสียหาย (ในภาพคือบริเวณถนนธนบุรี-ปากท่อมองเห็นคันดินกั้นน้ำขนานไปกับถนน)
น้ำทะเลหนุน
โดยทั่วไป พื้นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกลนัก ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้นมักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้น-น้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใดมีปริมาณมากและตรงกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยแก่พื้นที่ทำการเกษตร และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอในช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุน
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
พื้นที่หลายแห่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมของพื้นที่บริเวณนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม ๑। การขยายตัวของเขตชุมชนและการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นพื้นที่ที่ราษฎรใช้ทำการเกษตรนั้น ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มมีแอ่งน้ำ หนอง บึง และลำคลองธรรมชาติ เพื่อรับน้ำเข้า และระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างสะดวก หรือมีความสมดุลตามสภาพธรรมชาติดีโดยไม่มีน้ำท่วมขัง ครั้นเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นชุมชนแหล่งอุตสาหกรรมหรือที่อยู่อาศัย จึงมีการถมดินปรับพื้นที่ สร้างถนน สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขยายตัวออกไปเป็นบริเวณกว้างเป็นเหตุให้แอ่งน้ำ หนอง บึง และลำคลองธรรมชาติทั้งหลายต้องถูกทำลายหมดไป และมูลเหตุสำคัญก็คือภายในเขตชุมชนที่ตั้งขึ้นใหม่หลายแห่งมักไม่ได้สร้างระบบการระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพขึ้นแทน ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่มีฝนตกหนักจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังนาน และความเสียหายย่อมบังเกิดติดตามมา ๒. แผ่นดินทรุด พื้นที่ในเขตเมืองหรือชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นนั้น มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่เป็นประจำ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีวิธีการแก้ไขด้วยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคและเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นปริมาณมากในแต่ละปี วิธีการดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้แรงดันของน้ำในแหล่งน้ำบาดาลที่ระดับลึกนั้นมีค่าลดต่ำลงมาก จากนั้นน้ำในชั้นดินซึ่งทับอยู่บนนกรวดทรายที่เป็นแหล่งน้ำบาดาล จะถ่ายเทไหลเข้าไปในชั้นกรวดทรายด้านล่างตามธรรมชาติเมื่อน้ำในช่องว่างของดินสูญหายไปมากขึ้นๆ ชั้นดินดังกล่าวจะค่อยๆ ยุบตัวลงทีละน้อยจนเกิดแผ่นดินทรุด ทำให้ผิวดินเป็นแอ่งมีระดับต่ำกว่าปกติในบริเวณกว้าง เช่น พื้นที่หลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังนานหลังจากเกิดฝนตกหนัก เพราะการระบายน้ำออกไปจากพื้นที่ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน

ปฏิบัติราชการแทน ผอ.

ประชุมประจำเดือนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
วัที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ร่วมประชุมประจำเดือนตุลาคม เวลา ๐๙.๓๐แนะนำหัวหน้าส่วนราชการที่มารับหน้าที่ใหม่แต่ละหน่วยงานการระดมทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นโบย รมว.กระทรวงศึกษา

วันจันทร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔
สอศ.เตรียมปรับหลักสูตรอาชีวศึกษาครั้งใหญ่ หลังใช้มากว่า ๑๐ ปี เร่งผลักดันจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้เสร็จทันปีการศึกษา ๒๕๕๕ ตั้งเป้าอย่างน้อย ๔ แห่ง นาย ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า นโยบายเร่งด่วนที่จะเร่งดำเนินการเมื่อรับตำแหน่งใหม่ คือ นำเอายุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ร่วมประชุมกับผู้บริหารยกร่าง ขึ้น มาแปลงไปสู่การปฏิบัติโดยเฉพาะนโยบายการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เตรียมปรับหลักสูตรอาชีวศึกษาครั้งใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดัง กล่าวและบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกัน หลักสูตรอาชีวศึกษาในปัจจุบันใช้มาครบ ๑๐ ปีแล้ว ถือว่า อยู่ในช่วงเวลาที่ควรปรับเปลี่ยน เหมือนอย่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มักจะมีการปรับเปลี่ยนทุกรอบ ๑๐ ปี เช่นกัน นอจากนั้น ก็จะเร่งผลักดันให้เกิดสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในสายอาชีพถึงระดับปริญญาตรีเสียทีด้วย โดยตั้งเป้าว่า เปิดภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๕ ต้องจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้ได้อย่างน้อยภาคละ ๑ แห่ง รวมทั้งหมด ๔ แห่ง ทั้งนี้ ในการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษานั้น สอศ.จะหารือในเชิงนโยบายร่วมกับคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ) และจะดำเนินการในหลาย ๆ เรื่องไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้ทันที่เหลืออยู่ไม่กี่เดือนก่อนเปิดภาคเรียนปี ๒๕๕๕ ไม่ ว่าจะเป็นการประเมินความพร้อมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่จะรวมกลุ่มกันยกฐานะ เป็นสถาบันการอาชีวศึกษา การจัดทำหลักสูตร การโอยถ่ายบุคลากรและทรัพยากร นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากการเรื่องดังกล่าวแล้ว จะพยายามเร่งรัดการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพด้วย จะมีการตั้งกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพนั้นจะทำเสร็จเรียบร้อยแล้วและได้เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลที่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้พิจารณา เพราะฉะนั้น สอศ.จึงเตรียม