วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประชุม สกสค.จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๑๑.๓๐ น.
ร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงนโยบายโครงการ ช.พ.ค. ๕ ของ คณะกรรมการ สกสค.ทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตการศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในการประชุม conference ซึ่งมีรายละเอยดการประชุมดังนี้
๑.ความคืบหน้าของการดำเนินงานเงื่อนไขใหม่ในการกู้ยืม ช.พค. โครงการ ๕ ระยะที่ ๒ มีการปรับปรุงในเรื่องของการทำประกันชีวิตให้เป็นไปตามความสมัครใจของสมาชิกผู้กู้ยืมและได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามเงื่อนไข ผู้ขอกู้สามารถขอกู้โดยไม่ทำประกันชีวิตได้เต็มวงเงินหลังจากหักค่าจัดการศพแล้วเป็นเงิน ๕๙๐,๐๐๐ บาท โดยใช้บุคคลค้ำประกัน จำนวน ๑ คน ผู้ค้ำหนึ่งคนค้ำได้สัญญาหนึ่งสัญญาและผู้ที่ขอกู้และได้รับพิจารณาสิทธิ์การกู้แล้วไม่สามารถไปค้ำประกันสัญญาได้อีก
๒.ในการกู้ตามโครงการ ช.พ.ค. ๕ ไม่มีการระดมทุนโดยการหักเงินจากสมาชิกจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และกรณีที่หักจากสมาชิกแล้วทางคณะกรรมการ สกสค.จะตรวจเช็ครายชื่อสมาชิกแล้วส่งให้ธนาคารออมสินและธนาคารออมสินส่งให้สาขาแต่ละจังหวัดคืนเงินให้สมาชิกทางบัญชีธนาคารออมสินของสมาชิกต่อไปและจะให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ นี้
๓.กรณีสมาชิกสอบถามตามเงื่อนไขใหม่จะกู้ได้เมื่อใด ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการ สกสค.ได้ประกาสลงในราชกิจจานุเบกษาจึงมีผลบังคับใช้และได้แจ้งให้กับธนาคารออมสินได้รับทราบจึงจะมีผลในการปฏิบัติต่อไป
๔.กรณีผู้ขอกู้ที่ยื่นกู้และไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ก็ให้พิจารณาดำเนินการต่อไปไม่ให้ระงับการขอกู้ แต่หากผู้ขอกู้ประสงค์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ก็ให้ชลอการขอกู้นั้นไว้ก่อนจนกว่าเงื่อนไขใหม่จะมีผลบังคับใช้
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมประชุมคณะกรรมการ สกสค.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่ ๑๑ / ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ปลัดกระทรวงเรียกประชุมคณะกรรมการ สกสค. จังหวัดทั่วประเทศโดยประชุมผ่านทาง VDO.conference จังหวัดแม่ฮ่องสอนประชุมที่ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ไม่มีรายละเอียดของการประชุมเนื่องจากสัญญาณ conference ไม่ดี
เวลา ๑๓.๓๐ น.ประชุมกรรมการควบคุมงานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารอำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประชุมสัมนาผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ
วันที่ ๒๔-๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมประชุมสัมนาผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคเหนือที่โรงแรมเวียงอินน์จังหวัดเชียงราย
๑.นโยบายและปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ การปฏิรูปรอบสองและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.ความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพควบคุม การเลื่อนวิทยฐานะ เงินเดือน และเงินวิทยฐานะ
๓.การออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพควบคุม
๔.แนวทางการออกและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
๕.มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
๖.งานของคุรุสภาและช่องทางการประชาสัมพันธ์งานของคุรุสภา
รับท่านที่ปรึกษา
วันศุกร์ที่ ๒๑ สิหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๒๐.๐๐ - ๒๒.๓๐ น.
รับท่านที่ปรึกษาพันธ์ศักดิ์ โรจนากาศ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรมร่วมประชุมกับคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาร่วมกันกับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคของอาชีวศึกษาร่วมกับในระดับปริญญาตรีตามข้อตกลงร่วมกันก่อนที่สถาบันการอาชีวศึกษาจะเกิดตามรูปแบบและหลักสูตรของ มจธ. และการร่วมพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของการศึกษา
ครม.เห็นชอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
รมว.ศธ.เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
ศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) และเห็นชอบหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ
๑) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๒) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย
๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๒) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู
๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อเสนอกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาตามข้อเสนอดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเสนอให้มีกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
๑) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ให้มีคณะกรรมการ ๒ คณะเพื่อดำเนินการทางนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี รมว.ศธ.เป็นประธานฯ ให้คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ มีกรอบเวลาในการดำเนินงาน ๕ ปีและให้ยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานี้แล้ว โดยให้ สกศ.ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
๒) จัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดตั้งองค์กรเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานสถาบันผลิตครู ได้แก่ ๑- สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติ ที่มีการบริหารจัดการอย่างคล่องตัว เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู ประกันและรับรองคุณภาพและมาตรฐานสถาบันผลิตและพัฒนาครู และพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ๒-สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างอิสระ คล่องตัว ไม่อยู่ในระบบราชการ ทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ประเมินและให้การรับรองสมรรถนะวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓-สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ๔-ปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และให้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
๓) มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมหรือเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้การวัดประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นกลไกในการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น และให้ สกศ.ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยให้มีองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยให้มีองค์คณะบุคคลเพื่อดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ มีกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุงคู่ขนานกัน ได้แก่ ระบบการเงินการคลัง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และการปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง รวม ๒ คณะ ให้คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วย รมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด และกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมของคณะกรรมการ ให้สำนักงานเลขาธิการ สกศ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างจากส่วนราชการอื่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติราชการใน สกศ. ตลอดจนการให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล และคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน ให้การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ระเบียบนี้ยกเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา ๕ ปี นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
รมว.ศธ.เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
ศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) และเห็นชอบหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ
๑) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๒) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย
๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๒) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู
๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อเสนอกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาตามข้อเสนอดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเสนอให้มีกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
๑) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ให้มีคณะกรรมการ ๒ คณะเพื่อดำเนินการทางนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี รมว.ศธ.เป็นประธานฯ ให้คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ มีกรอบเวลาในการดำเนินงาน ๕ ปีและให้ยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานี้แล้ว โดยให้ สกศ.ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
๒) จัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดตั้งองค์กรเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานสถาบันผลิตครู ได้แก่ ๑- สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติ ที่มีการบริหารจัดการอย่างคล่องตัว เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู ประกันและรับรองคุณภาพและมาตรฐานสถาบันผลิตและพัฒนาครู และพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ๒-สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างอิสระ คล่องตัว ไม่อยู่ในระบบราชการ ทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ประเมินและให้การรับรองสมรรถนะวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓-สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ๔-ปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และให้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
๓) มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมหรือเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้การวัดประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นกลไกในการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น และให้ สกศ.ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยให้มีองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยให้มีองค์คณะบุคคลเพื่อดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ มีกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุงคู่ขนานกัน ได้แก่ ระบบการเงินการคลัง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และการปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง รวม ๒ คณะ ให้คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วย รมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด และกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมของคณะกรรมการ ให้สำนักงานเลขาธิการ สกศ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างจากส่วนราชการอื่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติราชการใน สกศ. ตลอดจนการให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล และคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน ให้การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ระเบียบนี้ยกเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา ๕ ปี นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
คัดเลือกครูและเหน้าที่รับรางวัล"หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร"
แทนผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนร่วมกรรมการคัดเลือกครู - อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ควรได้รับรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร"โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในการประชุมพิจารณาคัดเลือก ซึ่งมีผู้ส่งคัดเลือกจำนวน ๖ คน ดังนี้
๑.นางอุทิน เชาว์การ นักวิชาการศึกษา สพท.แม่ฮ่องสอนเขต ๑
๒.นายอดิศักดิ์ ปู่หล้า ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านเลโคะ อำเภอสบเมย
๓.นางนิภา บุญเจริญ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๓๓ (บ้านทุ่งพร้าว)
๔.นายธีรวิทย์ คำใส ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านห้วยส้าน อำเภอขุนยวม
๕.นางอนงค์ เพชรชิต ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านคะปวงอำเภอแม่สะเรียนง
๖.นางธนัชพร อินยา ครูชำนาญการโรงเรียนปายวิทยาคารอำเภอปาย
ผลการคัดเลือก ๑.นางอุทิน เชาว์การ ๒.นางนิภา บุญเจริญ
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การร่วมแก้ปัญหานักเรียนทะเลาะกันระหว่างโรงเรียน
เวลา ๐๘.๓๐ น.
สำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยผู้จัดการสงวน ศรีสวัสดิ์ และผอ.ธงชัย สงวนสิทธิ์ประธานเครือข่ายได้นำเงินมามอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรของสมาชิกสหกรณ์ที่วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จำนวน ๕ ทุนๆละ ๒,๐๐๐.บาท รวมเป็นเงินทุน ๑๐,๐๐๐.บาทผู้ที่ได้รับทุนได้แก่
๑.น.ส.ณัชญา ศุภเวทีบุตรของนางอำโนญ พัฒนกสิกรสมาชิกเลขทะเบียนที่ ๐๕๒๗๐
๒.นายอภิวัฒน์ ทุมตะคุบุตรของนายสุทิน ทุมตะคุสมาชิกเลขทะเบียนที่ ๓๙๐๖
๓.น.ส.กัญญา พุทธวงษ์บุตรของนายสมจิตร พุทธวงษ์เลขทะเบียนที่ ๐๗๑๔๑
๔.นายยุทธการ คำกลางบุตรของนางนฤมล คำกลางเลขทะเบียนที่ ๐๕๖๑๕
๕.นายทศพล บริสุทธิโอภาสบุตรของนายทวีชัย บริสุทธิโอภาสเลขทะเบียนเลขที่ ๐๔๘๘๑
เวลา ๑๓.๔๕ น.
เวลา ๑๓.๔๕ น.
ได้มีโอกาสพบนายสมศักดิ์ สุขนิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนเข้ามาปรึกษาเรื่องนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนได้เข้าไปหาเรื่องนักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ถึงในโรงเรียนและหอพักมีการแจ้งความไว้กับตำรวจครั้งหนึ่งและที่เพิ่งเกิดข้นเมื่อเร็วๆนี้อีกซึ่งทางครูปกครองทั้งสองโรงเรียนได้พูดรายละเอียดและชื่อของนักเรียนคู่กรณี อยู่ระหว่างการสอบสวนอยู่ด้วยโดยครูวิทยา ภิญโญฤทธิ์ และหาทางป้องกันในระยะยาวโดยผอ.โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เสนอการทำโครงการให้นักเรียนทั้งสองโรงเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และการเปิดสอน ปวช.เทียบโอนสะสมหน่วยกิตในโรงเรียนมัธยมปีการศึกษาต่อไป
กิจกรรม Fix it center ระยะที่ ๓
วันที่ ๑๕ - ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
มหกรรมโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix it center ระยะที่ ๓ จัดโดยอาชีวศึกษาจังหวัดลำพูน ณ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซีจังหวัดลำพูนโดยมีกิจกรรมการประกวดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านช่างเพื่อชุมชน ด้านสุขอนามัย ด้านพัฒนาเทคโนโลยีชุมชน การประกวดร้องเพลง การประกวดดนตรีโฟล์คซองนักศึกษา และการสอนวิชาชีพระยะสั้น ๑๐๘ อาชีพ โดยท่านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ท่านเฉลียว อยู่สีมารักษ์เป็นประธานพิธีเปิด อาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้าร่วมทั้งสองวิทยาลัย วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียนงร่วมกิจกรรมประกวดกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านสุขอนามัยและช่างชุมชน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนเข้าร่วมกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านบริการชุมชนและช่างชุมชน การสอนวิชาชีพระยะสั้นขนมเปม้งกับน้ำพริกคั่วทราย
มหกรรมโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix it center ระยะที่ ๓ จัดโดยอาชีวศึกษาจังหวัดลำพูน ณ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซีจังหวัดลำพูนโดยมีกิจกรรมการประกวดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านช่างเพื่อชุมชน ด้านสุขอนามัย ด้านพัฒนาเทคโนโลยีชุมชน การประกวดร้องเพลง การประกวดดนตรีโฟล์คซองนักศึกษา และการสอนวิชาชีพระยะสั้น ๑๐๘ อาชีพ โดยท่านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ท่านเฉลียว อยู่สีมารักษ์เป็นประธานพิธีเปิด อาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้าร่วมทั้งสองวิทยาลัย วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียนงร่วมกิจกรรมประกวดกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านสุขอนามัยและช่างชุมชน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนเข้าร่วมกิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนด้านบริการชุมชนและช่างชุมชน การสอนวิชาชีพระยะสั้นขนมเปม้งกับน้ำพริกคั่วทราย
จัดการประกวดคัดเลือกหาศูนย์ซ่อมสร้างชุมชนดีเด่น ที่เป็น Best Practice จำนวน 5 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการยกระดับช่างชุมชน
ประเภทที่ 2 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการให้บริการซ่อมเครื่องมืออุปกรณ์
ประเภทที่ 3 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการพัฒนาสุขอนามัยและอาชีวอนามัย
ประเภทที่ 4 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการยกระดับมาตรฐานสินค้า/ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ประเภทที่ 1 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการยกระดับช่างชุมชน
ประเภทที่ 2 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการให้บริการซ่อมเครื่องมืออุปกรณ์
ประเภทที่ 3 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการพัฒนาสุขอนามัยและอาชีวอนามัย
ประเภทที่ 4 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่นในด้านการยกระดับมาตรฐานสินค้า/ผลิตภัณฑ์ชุมชน
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)