วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ประเมินหน่วยมาตรฐานดีเด่นและสมาชิกองต์การวิชาชีพดีเด่น
ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินหน่วยมาตรฐานและสมาชิกดีเด่นในระดับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน โดยมีนายบันเทิง เทศวิศาลเป็นประธานคณะกรรมการ นายนิโรจน์ แสงพงษ์ นายบัณฑิตย์ สิงห์ช่างชัย นายคติ ปรีชาและนายชูเกียรติ สายปัญญาเริ่มประเมินสมาชิดีเด่นที่วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแมฮ่องสอน วิทยาลัยอาชีวเชียงใหม่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง วิทยาลัยเทคนิคลำพูนและวิทยาลัยอาชีวลำปาง ผลการประเมินสมาชิกดีเด่นจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง หน่วยดีเด่นจากวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินหน่วยมาตรฐานและสมาชิกดีเด่นในระดับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน โดยมีนายบันเทิง เทศวิศาลเป็นประธานคณะกรรมการ นายนิโรจน์ แสงพงษ์ นายบัณฑิตย์ สิงห์ช่างชัย นายคติ ปรีชาและนายชูเกียรติ สายปัญญาเริ่มประเมินสมาชิดีเด่นที่วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแมฮ่องสอน วิทยาลัยอาชีวเชียงใหม่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง วิทยาลัยเทคนิคลำพูนและวิทยาลัยอาชีวลำปาง ผลการประเมินสมาชิกดีเด่นจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง หน่วยดีเด่นจากวิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การประชุมเตรียมการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพ การแข่งขันทักษะวิชาชีพและการแข่งขันทักษะวิชาพื้นฐาน ครั้งที่ 21 ระดับภาค ภาคเหนือ
วันที่ ๖ - ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ร่วมประชุมเตรียมการจัดการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพ การแข่งขันทักษะวิชาชีพและการแข่งขันทักษะวิชาพื้นฐาน ครั้งที่ ๒๑ ระดับภาค ภาคเหนือ ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยในหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และผู้แทนอาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวาระการประชุมดังต่อไปนี้
๑.กีฬาอาชีวเกมส์ระดับชาติที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ ๓๐ พ.ย.- ๗ ธ.ค. ๕๒
๒.เกณฑ์การแข่งขันทักษะวิชาชีพและวิชาพื้นฐานแต่ละสาขาวิชาให้ติดตามได้จากวิทยาลัยและอาชวศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันจะแจ้งให้กับวิทยาลัยและอาชีวศึกษาจังหวัดให้ทราบ
ร่วมประชุมเตรียมการจัดการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพ การแข่งขันทักษะวิชาชีพและการแข่งขันทักษะวิชาพื้นฐาน ครั้งที่ ๒๑ ระดับภาค ภาคเหนือ ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยในหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และผู้แทนอาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวาระการประชุมดังต่อไปนี้
๑.กีฬาอาชีวเกมส์ระดับชาติที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ ๓๐ พ.ย.- ๗ ธ.ค. ๕๒
๒.เกณฑ์การแข่งขันทักษะวิชาชีพและวิชาพื้นฐานแต่ละสาขาวิชาให้ติดตามได้จากวิทยาลัยและอาชวศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันจะแจ้งให้กับวิทยาลัยและอาชีวศึกษาจังหวัดให้ทราบ
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อบรมหลักสูตรการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา
ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
หลักสูตรการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ณ ห้องไดมอนด์ โรงแรมรอยัลเจมส์ลอร์ด อำเภอพุทธมนฑล จังหวัดนครปฐม
๑.การสืบสวนสอบสวนคดีความประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา
๒.หลักกฎหมายปกครองแวธีปฏิบัติทางปกครอง
๓.การตั้งข้อกล่าวหาและการกำหนดประเด็นการสืบสวนสอบสวน
๔.การรับฟังพยานหลักฐาน
๕.หลักเกณฑ์และวิธีการสืบสวนสอบสวนทางจรรยาบรรณ
๖.เทคนิคและวิธีการสืบสวนสอบสวน
๗.หลักการทำรายงานการสืบสวนสอบสวน
หลักสูตรการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ณ ห้องไดมอนด์ โรงแรมรอยัลเจมส์ลอร์ด อำเภอพุทธมนฑล จังหวัดนครปฐม
๑.การสืบสวนสอบสวนคดีความประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา
๒.หลักกฎหมายปกครองแวธีปฏิบัติทางปกครอง
๓.การตั้งข้อกล่าวหาและการกำหนดประเด็นการสืบสวนสอบสวน
๔.การรับฟังพยานหลักฐาน
๕.หลักเกณฑ์และวิธีการสืบสวนสอบสวนทางจรรยาบรรณ
๖.เทคนิคและวิธีการสืบสวนสอบสวน
๗.หลักการทำรายงานการสืบสวนสอบสวน
วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552
กีฬาอาชีวะเกมส์ ๕๒ ภาคเหนือ ครั้งที่ ๖
ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ณ จังหวัดลำพูน โดยสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือทั้งหมด ๑๕ จังหวัด เข้าร่วมการแข่งขัน การแข่งขันมีประเภทกีฬาคือ ตะกร้อทีมเดี่ยวชาย หญิง ตะกร้อทีมชุดชาย หญิงรักบี้ฟุตบอลชาย หญิง แฮนด์บอลชาย หญิง บาสเกตบอลชาย หญิง วอลเลย์บอลชาย หญิง วอลเลย์บอลชายหาดชาย หญิง ฟุตซอลชาย หญิง ฟุตบอลชาย หญิง มวยสากลสมัครเล่น มวยไทยสมัครเล่น กอล์ฟ และกรีฑา อาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่งเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้มีวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนได้แก่กีฬาฟุตซอลชาย วอลเลย์บอลหญิง วอลเลย์บอลชายหาดชาย ตะกร้อทีมเดี่ยวชาย วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียงมวยไทยสมัครเล่น ผลการแข่งขันตะกร้อทีมเดี่ยวชายได้อันดับที่ ๓
ณ จังหวัดลำพูน โดยสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคเหนือทั้งหมด ๑๕ จังหวัด เข้าร่วมการแข่งขัน การแข่งขันมีประเภทกีฬาคือ ตะกร้อทีมเดี่ยวชาย หญิง ตะกร้อทีมชุดชาย หญิงรักบี้ฟุตบอลชาย หญิง แฮนด์บอลชาย หญิง บาสเกตบอลชาย หญิง วอลเลย์บอลชาย หญิง วอลเลย์บอลชายหาดชาย หญิง ฟุตซอลชาย หญิง ฟุตบอลชาย หญิง มวยสากลสมัครเล่น มวยไทยสมัครเล่น กอล์ฟ และกรีฑา อาชีวศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่งเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้มีวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนได้แก่กีฬาฟุตซอลชาย วอลเลย์บอลหญิง วอลเลย์บอลชายหาดชาย ตะกร้อทีมเดี่ยวชาย วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียงมวยไทยสมัครเล่น ผลการแข่งขันตะกร้อทีมเดี่ยวชายได้อันดับที่ ๓
ศึกษาดูงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอน
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ณ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจบุรี ผู้ร่วมศึกษาดูงานคือกรรมการสหกรณ์ ประธานเครือข่าย ผู้ตรวจบัญชีสหกรณ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอนและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ วันื่ ๑๕ ตุลาคม เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๒.๓๐ น. รับฟังคำบรรยายหลักการสหกรณ์ ระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวกับสหกรณ์ การดำเนินการกิจการสหกรณ์จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ เวลา ๑๓.๐๐ น. ทัศนศึกษาดูงานในสถานที่จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๖ ตุลาคม ศึกษาดูงานสหกรณืออมทรัพย์ครูจังหวัดกาญจนบุรี และทัศนศึกษาดูงานอำเภอสังขละบุรี วันที่ ๑๗ ตุลาคม เยี่ยมชมเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์และเดินทางกลับ
ณ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจบุรี ผู้ร่วมศึกษาดูงานคือกรรมการสหกรณ์ ประธานเครือข่าย ผู้ตรวจบัญชีสหกรณ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอนและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ วันื่ ๑๕ ตุลาคม เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๒.๓๐ น. รับฟังคำบรรยายหลักการสหกรณ์ ระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวกับสหกรณ์ การดำเนินการกิจการสหกรณ์จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ เวลา ๑๓.๐๐ น. ทัศนศึกษาดูงานในสถานที่จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๖ ตุลาคม ศึกษาดูงานสหกรณืออมทรัพย์ครูจังหวัดกาญจนบุรี และทัศนศึกษาดูงานอำเภอสังขละบุรี วันที่ ๑๗ ตุลาคม เยี่ยมชมเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์และเดินทางกลับ
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ขอเชิญร่วมประชุมและตรวจพื้นที่เพื่อเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมประชุมกับนายกำธร ถาวรสถิตย์ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คณะส่วนล่วงหน้า ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์บ้านแสนคำลือ ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมี พล.อ. คณิต เพิ่มทรัพย์ ประธานในการประชุม เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๔๕ น. มีหัวข้อประชุมดังต่อไปนี้
๑.หมายกำหนดการเสด็จ (นาชัยวาลย์ รองเรื่องรุ่ง) ผู้รับผิดชอบ
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๐.๔๕ น. (๒๕ นาที) จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ถึง โรงเรียน ตชด. ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ บ้านแสนคำลือ จากสนาม ฮ.บ้านแอโก๋ ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จตามเส้นทางไปบริเวณประกอบพิธีเปิดสะพาน รูปแบบส่วนพระองค์โดยแบบเรียบง่าย การตัดริบบิ้นหรือ ถวายสายสูตรดึงเปิดป้ายสะพานตามความเหมาะสม จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานไปฝั่งโรงเรียง เป็นการทรวงเยี่ยมกิจการของโรงเรียนและส่วนราชการที่ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน ตชด.แห่งนี้ พระราชทานสิ่งของ ต้นไม้ให้กับตัวแทนนักเรียน ครู ตชด. ชาวบ้าน จำนวน 13 คน ครูใหญ่รายงานตัว เสด็จเข้าห้องหมายเลข ๒ ทรงลงประปรมาภิทัย นักเรียนในความอนุเคราะห์เข้าเฝ้า เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องหมายเลข ๓ ห้องสมุด ห้องหมายเลข ๔ การสาธิตสอนวิชาภาษาอังกฤษ ห้องหมายเลข ๖ หมายเลข ๑๐,๑๑,๑๒,๑๓ เยี่ยมราษฎร ๑๔ ห้องสหกรณ์ ๑๕ และเสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานไปยังห้องหมายเลข ๘ โครงการฝึกอาชีพโดยความรับผิดชอบของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนและวิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียงจากการปะสานรายละเอียดกับ พ.ต.ท. สุดารัตน์ บุญเกื้อ ผู้รับผิดชอบจาก กก. ตชด. ที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนห้องหมายเลข ๘ วิทยาลัยการอาพชีนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จัดนิทรรศการตามโครงการฝึกอาชีพให้กับนักเรียน ครู ตชด. เยาวชน ประชาชนถวายรายงานการดำเนินงานตามโครงการและกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนแห่งนี้โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง จากการไปประสานรายละเอียดโดยอาจารย์อำพรธิดา ยอดวิเศษ กรณีสอนการทอเสื่อกกและเย็บเป็นประเป๋าของใช้จากเสื่อกกให้กับชาวบ้าน บ้านตูน อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
นำมาจัดแสดงให้ทอดพระเนตรและถวายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวร่วมอยู่ในห้องหมายเลข ๘ ด้วย รายละเอียดคร่าว ๆ ได้โทรศัพท์ประสาน ผอ. ประภากร วัชราคม และรองฯ ศรียนต์ สาริกนนต์ เป็นเบี้องต้นสำหรับการประสานรายละเอียดการจัดสถานที่อื่น ๆ กับอาจารย์อำพรธิดา ต่อไป (ขนาดของห้องหายเลข ๘ ประมาณ ๔ x ๖ เมตร)
จากห้องหมายเลข ๘ เสด็จเข้าห้องเสวยร่วมห้องเสวยโดยหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโรงเรียน ตชด. บ้านแสนคำลือประมาณ ๓๐ หน่วยงาน และเสด็จประทับ ฮ.พระที่นั่งไปยังศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพื้นที่สูงบ้านห้วยเกี๋ยงน้อย หมู่ที่ ๔ ต.กองก๋อง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
๒. การสำรวจเส้นทาง เสด็จพระราชดำเนินหน่วยงานที่รับผิดชอบฝ่ายอำนวยการกลาง
๓. การถวายความปลอดภัย กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๔. เรื่องทั่วไป แสงสว่างในห้องที่เสด็จ ราชพระบาทที่เสด็จที่ไม่ปลอดภัย แผนฉุกเฉินเตรียมพร้อมการปฐมพยาบาลเบี้องต้น สถานที่คับแคบควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้นผู้ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องตามทุกจุด และขอให้ใช้งบประมาณในการเตรียมการรับเสด็จอย่างประหยัด เน้นในเรื่องของความสะอาดเป็นหลัก การแต่งกายข้าราชการชุดปฏิบัติการสีกากีแขนยาวตามสังกัด หรือชุดยูนิฟอร์มของแต่ละสังกัดในวันรับเสด็จฯ
ร่วมประชุมกับนายกำธร ถาวรสถิตย์ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คณะส่วนล่วงหน้า ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์บ้านแสนคำลือ ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมี พล.อ. คณิต เพิ่มทรัพย์ ประธานในการประชุม เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๔๕ น. มีหัวข้อประชุมดังต่อไปนี้
๑.หมายกำหนดการเสด็จ (นาชัยวาลย์ รองเรื่องรุ่ง) ผู้รับผิดชอบ
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๒เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๐.๔๕ น. (๒๕ นาที) จากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐ อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ถึง โรงเรียน ตชด. ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปะไทยอนุสรณ์ บ้านแสนคำลือ จากสนาม ฮ.บ้านแอโก๋ ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จตามเส้นทางไปบริเวณประกอบพิธีเปิดสะพาน รูปแบบส่วนพระองค์โดยแบบเรียบง่าย การตัดริบบิ้นหรือ ถวายสายสูตรดึงเปิดป้ายสะพานตามความเหมาะสม จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานไปฝั่งโรงเรียง เป็นการทรวงเยี่ยมกิจการของโรงเรียนและส่วนราชการที่ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโรงเรียน ตชด.แห่งนี้ พระราชทานสิ่งของ ต้นไม้ให้กับตัวแทนนักเรียน ครู ตชด. ชาวบ้าน จำนวน 13 คน ครูใหญ่รายงานตัว เสด็จเข้าห้องหมายเลข ๒ ทรงลงประปรมาภิทัย นักเรียนในความอนุเคราะห์เข้าเฝ้า เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องหมายเลข ๓ ห้องสมุด ห้องหมายเลข ๔ การสาธิตสอนวิชาภาษาอังกฤษ ห้องหมายเลข ๖ หมายเลข ๑๐,๑๑,๑๒,๑๓ เยี่ยมราษฎร ๑๔ ห้องสหกรณ์ ๑๕ และเสด็จพระราชดำเนินข้ามสะพานไปยังห้องหมายเลข ๘ โครงการฝึกอาชีพโดยความรับผิดชอบของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนและวิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียงจากการปะสานรายละเอียดกับ พ.ต.ท. สุดารัตน์ บุญเกื้อ ผู้รับผิดชอบจาก กก. ตชด. ที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนห้องหมายเลข ๘ วิทยาลัยการอาพชีนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จัดนิทรรศการตามโครงการฝึกอาชีพให้กับนักเรียน ครู ตชด. เยาวชน ประชาชนถวายรายงานการดำเนินงานตามโครงการและกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนแห่งนี้โดยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง จากการไปประสานรายละเอียดโดยอาจารย์อำพรธิดา ยอดวิเศษ กรณีสอนการทอเสื่อกกและเย็บเป็นประเป๋าของใช้จากเสื่อกกให้กับชาวบ้าน บ้านตูน อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
นำมาจัดแสดงให้ทอดพระเนตรและถวายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวร่วมอยู่ในห้องหมายเลข ๘ ด้วย รายละเอียดคร่าว ๆ ได้โทรศัพท์ประสาน ผอ. ประภากร วัชราคม และรองฯ ศรียนต์ สาริกนนต์ เป็นเบี้องต้นสำหรับการประสานรายละเอียดการจัดสถานที่อื่น ๆ กับอาจารย์อำพรธิดา ต่อไป (ขนาดของห้องหายเลข ๘ ประมาณ ๔ x ๖ เมตร)
จากห้องหมายเลข ๘ เสด็จเข้าห้องเสวยร่วมห้องเสวยโดยหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนโรงเรียน ตชด. บ้านแสนคำลือประมาณ ๓๐ หน่วยงาน และเสด็จประทับ ฮ.พระที่นั่งไปยังศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพื้นที่สูงบ้านห้วยเกี๋ยงน้อย หมู่ที่ ๔ ต.กองก๋อง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
๒. การสำรวจเส้นทาง เสด็จพระราชดำเนินหน่วยงานที่รับผิดชอบฝ่ายอำนวยการกลาง
๓. การถวายความปลอดภัย กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๔. เรื่องทั่วไป แสงสว่างในห้องที่เสด็จ ราชพระบาทที่เสด็จที่ไม่ปลอดภัย แผนฉุกเฉินเตรียมพร้อมการปฐมพยาบาลเบี้องต้น สถานที่คับแคบควรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้นผู้ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องตามทุกจุด และขอให้ใช้งบประมาณในการเตรียมการรับเสด็จอย่างประหยัด เน้นในเรื่องของความสะอาดเป็นหลัก การแต่งกายข้าราชการชุดปฏิบัติการสีกากีแขนยาวตามสังกัด หรือชุดยูนิฟอร์มของแต่ละสังกัดในวันรับเสด็จฯ
ประชุมเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ระเบียบวาระในการประชุมเพื่อการเตรียมการรับเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรายละเอียดดังนี้
๑.วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดแฮ่องสอน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้รับมอบหมายในส่วนของโครงการฝึกอาชีพ กำหนดการถวายรายงานในห้องเรียนหมายเลข ๕ ตามผังการเตรียมการเส้นทางเสด็จฯ และร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง ในเรื่องของการส่งเสริมการทอผ้ากระเหรี่ยงหรือทอเสื่อ
๒. กำหนดของส่วนล่วงหน้าตรวจเยี่ยมพื้นที่รับเสด็จเพื่อเตรียมการในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ กำหนดการ คณะถึงพื้นที่หมายเวลา ๑๐.๓๐ น. จึงให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางไปตรวจพื้นที่รับเสด็จตามกำหนดวันและเวลาดังกล่าว
๓. หมายกำหนดการเสด็จไม่เป็นทางการห้วงระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ หากมีการกำหนดหมายกำหนดที่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
๔. ส่วนการประสานมอบหมายงานเพิ่มเติมจากภาระกิจข้างต้นจาก กก ตชด ที่ ๓๓ ในเรื่องเครื่อง
เสวย ห้องเสวย และพระกระยาหารในกรณี การจะต้องเสวยในวันที่เสด็จข้าพเจ้าได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า อศจ. แม่ฮ่องสอน ไม่เคยรับภาระกิจนี้ถวายการรับเสด็จที่ผ่านมาจะเห็นเป็นการจัดถวายโดยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่และโรงแรมที่มีบุคลากรทางด้านนี้จัดถวาย
ระเบียบวาระในการประชุมเพื่อการเตรียมการรับเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรายละเอียดดังนี้
๑.วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดแฮ่องสอน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้รับมอบหมายในส่วนของโครงการฝึกอาชีพ กำหนดการถวายรายงานในห้องเรียนหมายเลข ๕ ตามผังการเตรียมการเส้นทางเสด็จฯ และร่วมกับวิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง ในเรื่องของการส่งเสริมการทอผ้ากระเหรี่ยงหรือทอเสื่อ
๒. กำหนดของส่วนล่วงหน้าตรวจเยี่ยมพื้นที่รับเสด็จเพื่อเตรียมการในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ กำหนดการ คณะถึงพื้นที่หมายเวลา ๑๐.๓๐ น. จึงให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเดินทางไปตรวจพื้นที่รับเสด็จตามกำหนดวันและเวลาดังกล่าว
๓. หมายกำหนดการเสด็จไม่เป็นทางการห้วงระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ หากมีการกำหนดหมายกำหนดที่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
๔. ส่วนการประสานมอบหมายงานเพิ่มเติมจากภาระกิจข้างต้นจาก กก ตชด ที่ ๓๓ ในเรื่องเครื่อง
เสวย ห้องเสวย และพระกระยาหารในกรณี การจะต้องเสวยในวันที่เสด็จข้าพเจ้าได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า อศจ. แม่ฮ่องสอน ไม่เคยรับภาระกิจนี้ถวายการรับเสด็จที่ผ่านมาจะเห็นเป็นการจัดถวายโดยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่และโรงแรมที่มีบุคลากรทางด้านนี้จัดถวาย
ส่งครูมัสรัตน์สู่มาตุภูมิ
วันที่ ๑-๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมเดินทางส่งครูมัสรัตน์ แสงแก้วที่ได้มาบรรจุอยู่ที่วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีเป็นเวลา ๑๑ ปีไปอยู่บ้านเกิดที่วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา จังหวัดน่านโดยการต้อนรับของอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน ผู้อำนวยการฯอนุชิต ชูจันทร์และรองผู้อำนวยการพร้อมคณะ ผู้อำนวยการเฉลิมชัย ผาแสงและรองผู้อำนวยการพร้อมคณะ ผู้อำนวยการฯอำนาจ ฝ่าวิบากและรองผู้อำนวยการพร้อมคณะได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและอบอุ่นจึงขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้
ร่วมเดินทางส่งครูมัสรัตน์ แสงแก้วที่ได้มาบรรจุอยู่ที่วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีเป็นเวลา ๑๑ ปีไปอยู่บ้านเกิดที่วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา จังหวัดน่านโดยการต้อนรับของอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน ผู้อำนวยการฯอนุชิต ชูจันทร์และรองผู้อำนวยการพร้อมคณะ ผู้อำนวยการเฉลิมชัย ผาแสงและรองผู้อำนวยการพร้อมคณะ ผู้อำนวยการฯอำนาจ ฝ่าวิบากและรองผู้อำนวยการพร้อมคณะได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและอบอุ่นจึงขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
งานมุฑิตาจิตข้าราชการเกษียรอายุราชการและรับ ส่งข้าราชการย้าย
๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๐๘.๓๐ น.
ทำหน้าที่ประธานพิธีเปิดโครงการอบรมนายหมู่ลูกเสือวิสามัญ ต้านยาเสพติด น้อมนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ ลูกเสือวิสามัญรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้รักสามัคคี มีความอดทน อดกลั้น เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน 2552 ณ วิทยาลัยการาอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
เวลา ๑๓.๓๐ น.
ประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนประจำเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมตึกอำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
นายไพรัช วิมาลาผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมิทราชินีแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในพิธีงานเกษียรอายุราชการและได้รับเกียรติจากหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายมาร่วมงาน นายประจวบ เจนแพทย์ พนักงานขับรถ นางอุไร จิตคำภู ครู คศ.๓ ข้าราชการย้ายออกและย้ายเข้าวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน นายศุภชัย พัวพันธ์พิพัฒน์ รอง ผอ.ย้ายไปรับตำแหน่งรอง ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ นางมัสรัตน์ แสงแก้วย้ายไปรับหน้าที่ครูวิทยาลัยการอาชีพเวียงสา จังหวัดน่าน นายสวรรค์ จาอ้าย ย้ายมารับตำแหน่งรอง ผอ. นายอสนาถ โรจนวิภาต ย้ายมารับตำแหน่งรอง ผอ.วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน และนายหงษ์คำ อินใจ ครูผู้ช่วยบรรจุใหม่ในตำแหน่งครูแผนกวิชาอิเลคทรอนิกส์
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552
ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
ด้วยข้าพเจ้า นายชูเกียรติ สายปัญญา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการวิทยฐานะชำนาญการ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้จัดทำผลงานทางวิชาการ เรื่องการพัฒนาระบบบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน มีความประสงค์ต้องการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว เพื่อใช้เป็นข้อมูลแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษาของท่าน
ในการนี้ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จึงได้จัดส่งบทคัดย่องานวิจัยดังกล่าว และขอความอนุเคราะห์ท่านกรุณากรอกข้อมูลในแบบตอบรับ พร้อมส่งคืนวิทยาลัย ฯ หรือตอบรับทาง wepblog www.chu2501.blogspot.com อีกช่องทางหนึ่งด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ในการนี้ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จึงได้จัดส่งบทคัดย่องานวิจัยดังกล่าว และขอความอนุเคราะห์ท่านกรุณากรอกข้อมูลในแบบตอบรับ พร้อมส่งคืนวิทยาลัย ฯ หรือตอบรับทาง wepblog www.chu2501.blogspot.com อีกช่องทางหนึ่งด้วย จักขอบคุณยิ่ง
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552
โครงการฝึกอบรมแนวทางกระบวนการและวิธีการ การจัด และเทียบโอนสะสมหน่วยกิต ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๐๙.๐๐ น.
โครงการฝึกอบรมแนวทางกระบวนการและวิธีการ การจัด และเทียบโอนสะสมหน่วยกิต ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ว่าที่ ร้อยตรี อธิป นันทตันติผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง และนายวิศาล วัชรินทร์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ ผู้ที่เริ่มโครงการกับโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๒ อำเภอปางมะผ้า(สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาช่างก่อสร้าง) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๔ อำเภอปาย(สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง)และ โรงเรียนขุนยวมวิทยา อำเภอขุนยวม(สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) โรงเรียนที่เข้าร่วมอบรมเพิ่มเติมได้แก่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน โรงเรียนเทศบาลเมืองแมฮ่องสอน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑
โครงการตามพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดา โรงเรียน ตชด.
๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
ผู้อำนวยการไพรัช วิมาลา รองฯสวรรค์ จาอ้าย รองฯชูเกียรติ สายปัญญา ปรึกษาร่วมกับ ผบ.ร้อย ตชด.๓๓๖ บ้านปางหมู พ.ต.ท. บงการ เจริญสุข ที่ได้เข้ามาประสานงานการเตรียมความพร้อมโรงเรียน ตชด. แสนคำลือและบ้านปุงยามเพื่อรับเสด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารีที่จะเสด็จติดตามงานในโครงการดังกล่าวห้วงเดือนตุลาคมเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพให้กับนักเรียน เยาวชน การปรับปรุงประตูรั้วด้านหน้า ด้านหลัง การจัดทำชุ้มพระพุทธรูปแบบฉัตรลายฉลุปานซอยแบบไทยใหญ่ ๒ จุด การใช้กังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในกิจการโรงเรียน จัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนหมู่บ้านดังกล่าว
ผู้อำนวยการไพรัช วิมาลา รองฯสวรรค์ จาอ้าย รองฯชูเกียรติ สายปัญญา ปรึกษาร่วมกับ ผบ.ร้อย ตชด.๓๓๖ บ้านปางหมู พ.ต.ท. บงการ เจริญสุข ที่ได้เข้ามาประสานงานการเตรียมความพร้อมโรงเรียน ตชด. แสนคำลือและบ้านปุงยามเพื่อรับเสด็จฯพระเทพรัตนราชสุดาสยามราชกุมารีที่จะเสด็จติดตามงานในโครงการดังกล่าวห้วงเดือนตุลาคมเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพให้กับนักเรียน เยาวชน การปรับปรุงประตูรั้วด้านหน้า ด้านหลัง การจัดทำชุ้มพระพุทธรูปแบบฉัตรลายฉลุปานซอยแบบไทยใหญ่ ๒ จุด การใช้กังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ในกิจการโรงเรียน จัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนหมู่บ้านดังกล่าว
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552
การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่กับการบริหารยุทธศาสตร์
ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่กับการบริหารยุทธศาสตร์
ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
วัตถุประสงค์ในการจัดประชุมสัมมนาการพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มี ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อให้คณะผู้บริหารได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร ปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๑. เพื่อให้คณะผู้บริหารได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร ปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๒. เพื่อระดมความรู้ และประสบการณ ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และในการดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และร่วมกันขับเคลื่อนอาชีวศึกษา
๔. เพื่อการศึกษาดูงาน และการรับชมบรรยากาศธรรมชาติในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
แผนงานการดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๑. แผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
๒. จัดอบรมบุคลากร เพื่อพัฒนาบุคลากร ตั้งแต่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกำหนด
การจัดอบรมครั้งละ ๗ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อนำความรู้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษาต่อไป
๓. ประเมินครูปีงบประมาณ ๒๕๕๓ มีการสอบเพื่อวางแผนพัฒนาครูอย่างมีระบบ
๔. การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ได้ผ่านขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. การสอนเทียบโอนประสบการณ์ ต้องคำนึงถึง - คุณภาพ - เทียบโอนได้จริง
๖. การจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี มีบางสถานศึกษาที่ยังจัดไม่เหมาะสม ไม่พร้อมเท่าที่ควร
ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ
๗. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี ควรคำนึงถึง
๑. หลักสูตร
๒. การจัดการวางแผน
๓. สถานประกอบการ
๔. กระบวนการทำงานต้องมี หลักสูตรจะต้องดี ครูสอนดี ตั้งใจสอน การบริหารจัดงานต้องดี
๕. การวัดผล ประเมินผล
เรื่อง บทบาทการบริหารสถานศึกษายุคใหม่
โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม และคณะ ได้แก่
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
๒. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
๓. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
๔. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
การบริหารยุคใหม่ เน้นการบริหารงานด้วยปัญญา โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน และการสร้างประสบการณ์ เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และในเรื่องของความร่วมมือ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน งานที่อาศัยความปราณีตและอดทน
มีประเด็นที่สำคัญ ๔ ประการคือ
๑. การสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ คิดถึงส่วนรวม
๒. นักบริหารยุคใหม่ ต้องระวังการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ การให้โอกาสในการ
เจริญเติบโตของผู้ใต้บังคับบัญชา การอยู่รวมกันด้วยความเมตตา
๓. ความยืดหยุ่น ความพร้อมในการปรับตัว ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง กลไกสำคัญใน
การขับเคลื่อนอาชีวศึกษา คือ ต้องสร้างความเข็มแข็ง
๔. เรื่องของเทคโนโลยี (Innovation) ไม่ใช่เรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น ที่เป็นนโยบาย
แต่เป็นนวัตกรรม และเป็นการคิดแบบใหม่
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ทั้ง ๔ ท่าน คือ
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
- การจัดตั้ง สถาบันการอาชีวศึกษา บุคลากรภายในอาชีวศึกษาควรมีความสามัคคี สร้างความเป็นหนึ่งเดียว และมีทัศนคติในด้านการเน้นที่ความเป็นอาชีวศึกษา โดยการเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่มีความเก่งในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการสร้างความเข็มแข็ง การเป็นจุดเด่น
ของอาชีวศึกษา
๒. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ - การสร้างความเป็นมาตรฐานภายในสถาบัน - ด้านกำลังคน ต้องมีความเข็มแข็ง สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
๓. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ - การบริหารงานภายในสถานศึกษา ผู้บริหารยุคใหม่ ศึกษาการบริหารงานจากผู้บริการยุคเก่าเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานต่อไป - การพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ ร่วมกับสถานประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ
4. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา - การบริหารงานภายในสถานศึกษาในฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารงานฝ่ายแผนงานฯ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และฝ่ายวิชาการ ควรมีการคิดนอกกรอบ (ยกเว้นฝ่ายบริหารทรัพยากร)เพื่อสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นการพัฒนาการบริหารงาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และร่วมกันขับเคลื่อนอาชีวศึกษา
๔. เพื่อการศึกษาดูงาน และการรับชมบรรยากาศธรรมชาติในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
แผนงานการดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๕๓
๑. แผนปฏิบัติการประจำปี การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
๒. จัดอบรมบุคลากร เพื่อพัฒนาบุคลากร ตั้งแต่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกำหนด
การจัดอบรมครั้งละ ๗ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อนำความรู้มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษาต่อไป
๓. ประเมินครูปีงบประมาณ ๒๕๕๓ มีการสอบเพื่อวางแผนพัฒนาครูอย่างมีระบบ
๔. การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ได้ผ่านขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๕. การสอนเทียบโอนประสบการณ์ ต้องคำนึงถึง - คุณภาพ - เทียบโอนได้จริง
๖. การจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี มีบางสถานศึกษาที่ยังจัดไม่เหมาะสม ไม่พร้อมเท่าที่ควร
ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ
๗. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ดี ควรคำนึงถึง
๑. หลักสูตร
๒. การจัดการวางแผน
๓. สถานประกอบการ
๔. กระบวนการทำงานต้องมี หลักสูตรจะต้องดี ครูสอนดี ตั้งใจสอน การบริหารจัดงานต้องดี
๕. การวัดผล ประเมินผล
เรื่อง บทบาทการบริหารสถานศึกษายุคใหม่
โดยรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม และคณะ ได้แก่
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
๒. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
๓. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา
๔. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
การบริหารยุคใหม่ เน้นการบริหารงานด้วยปัญญา โดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน และการสร้างประสบการณ์ เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ และในเรื่องของความร่วมมือ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน งานที่อาศัยความปราณีตและอดทน
มีประเด็นที่สำคัญ ๔ ประการคือ
๑. การสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ คิดถึงส่วนรวม
๒. นักบริหารยุคใหม่ ต้องระวังการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ การให้โอกาสในการ
เจริญเติบโตของผู้ใต้บังคับบัญชา การอยู่รวมกันด้วยความเมตตา
๓. ความยืดหยุ่น ความพร้อมในการปรับตัว ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง กลไกสำคัญใน
การขับเคลื่อนอาชีวศึกษา คือ ต้องสร้างความเข็มแข็ง
๔. เรื่องของเทคโนโลยี (Innovation) ไม่ใช่เรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น ที่เป็นนโยบาย
แต่เป็นนวัตกรรม และเป็นการคิดแบบใหม่
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ทั้ง ๔ ท่าน คือ
๑. ผู้อำนวยการพิสิษฐ์ เนาวรังษี วิทยาลัยเทคนิคนคราชสีมา
- การจัดตั้ง สถาบันการอาชีวศึกษา บุคลากรภายในอาชีวศึกษาควรมีความสามัคคี สร้างความเป็นหนึ่งเดียว และมีทัศนคติในด้านการเน้นที่ความเป็นอาชีวศึกษา โดยการเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่มีความเก่งในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นการสร้างความเข็มแข็ง การเป็นจุดเด่น
ของอาชีวศึกษา
๒. ผู้อำนวยการสิทธิพงษ์ ณ เชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ - การสร้างความเป็นมาตรฐานภายในสถาบัน - ด้านกำลังคน ต้องมีความเข็มแข็ง สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
๓. ผู้อำนวยการชุลีพร สิงหเนตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ - การบริหารงานภายในสถานศึกษา ผู้บริหารยุคใหม่ ศึกษาการบริหารงานจากผู้บริการยุคเก่าเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานต่อไป - การพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ ร่วมกับสถานประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ
4. ผู้อำนวยการจงรัก วริชาชีวะ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา - การบริหารงานภายในสถานศึกษาในฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารงานฝ่ายแผนงานฯ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา และฝ่ายวิชาการ ควรมีการคิดนอกกรอบ (ยกเว้นฝ่ายบริหารทรัพยากร)เพื่อสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นการพัฒนาการบริหารงาน
การประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดย รองเลขาการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย : - คุณภาพและมาตรฐาน - โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจุลภาคส่วน
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ - พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ - ผลิต / พัฒนากำลังคน
๒. พัฒนาศักยภาพครูยุคใหม่ - พัฒนาระบบครู - พัฒนาครู - พัฒนาการใช้ครู
๓. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา - Infastruckture - Environment
๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการยุคใหม่ - กระจาย อำนาจ - พัฒนาระบบ / ธรรมาภิบาล - พัฒนาระบบ / เพื่อเพิ่มโอกาส - พัฒนาการมีส่วนร่วม
- บุคคล / องค์กร - อปท. - ทรัพยากรเพื่อการศึกษา กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา - คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป มี ๒ คณะ
๑.คณะกรรมการนโยบายปฏิรูป กศ.ทว. นายกรัฐมนตรี ประธาน ๒. คณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูป กศ.ทว. ๒ รมว. ศธ. ประธาน
การจัดตั้งหน่วยงาน / ปรับบทบาทหน่วยงาน
๑. องค์กรเพื่อรับรองคุณภาพ/มาตรฐานสถาบันการผลิต “ สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ ”๒. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ๓. สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ๔. ปรับมาตรฐาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็น “ สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต ”
มอบหมายหน้าที่หน่วยงานเดิม เพื่อภารกิจใหม่
๑. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และสพฐ. “การประกันการเรียนรู้ และมาตรฐานผู้เรียน”
๒. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาขับเคลื่อน การกระจายอำนาจของพื้นที่ และการศึกษา
แก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหา
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. การประสานแผนฯ ๓. การดำเนินการตามแผนฯ ๔. การติดตามประเมินแผนฯ
สร้างสรรค์แนวทางใหม่/เพิ่ม
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. บูรณาการ แผนฯ ๓. ดำเนินการตามแผน ๔. ติดตาม/ประเมิน
เรื่อง การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา นายจินศิริ พุ่มศิริ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๘,๐๒๘.๕๕๘ ล้านบาท (ผ่านพิจารณาวาระที่ 2- 3)
งบรายจ่าย ปี๒๕๕๓ ร้อยละ
งบบุคลากร ๗,๘๒๘.๐๙๕ ๔๓.๔๒
งบดำเนินงาน ๓,๘๖๗.๒๘๗ ๒๑.๔๕
งบลงทุน ๕๔๗.๑๔๓ ๓.๐๓
งบเงินอุดหนุน ๕,๗๒๙.๕๓๑ ๓๑.๗๘
งบรายจ่ายอื่น ๕๖.๕๐๐ ๐.๓๑
รวมทั้งสิ้น ๑๘,๐๒๘.๕๕๖ ๑๐๐.๐๐
ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะ การบริหารงบประมาณ
• การรายงานข้อมูล และผลการเบิกจ่ายเงิน
• การจัดทำแผนขอตั้งงบประมาณ และแผนการใช้เงิน
• การวางแผนและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
• การใช้จ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
• การขอสนับสนุนเงิน และ การจัดทำหนังสือตอบโต้
• การติดต่อ การสอบถาม การหารือ และการประสานงาน
• การใช้ระเบียบ หลักเกณฑ์ และการตีความ
• การควบคุมและการจัดเก็บเอกสารงบประมาณ
เรื่อง โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒ (SP ๒,๒๕๕๓-๒๕๕๕)
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา (นายเจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ)
ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ ณ โรงแรมโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
**************************************
เรื่อง กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดย รองเลขาการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย : - คุณภาพและมาตรฐาน - โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจุลภาคส่วน
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๑. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ - พัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ - ผลิต / พัฒนากำลังคน
๒. พัฒนาศักยภาพครูยุคใหม่ - พัฒนาระบบครู - พัฒนาครู - พัฒนาการใช้ครู
๓. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา - Infastruckture - Environment
๔. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการยุคใหม่ - กระจาย อำนาจ - พัฒนาระบบ / ธรรมาภิบาล - พัฒนาระบบ / เพื่อเพิ่มโอกาส - พัฒนาการมีส่วนร่วม
- บุคคล / องค์กร - อปท. - ทรัพยากรเพื่อการศึกษา กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา - คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป มี ๒ คณะ
๑.คณะกรรมการนโยบายปฏิรูป กศ.ทว. นายกรัฐมนตรี ประธาน ๒. คณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูป กศ.ทว. ๒ รมว. ศธ. ประธาน
การจัดตั้งหน่วยงาน / ปรับบทบาทหน่วยงาน
๑. องค์กรเพื่อรับรองคุณภาพ/มาตรฐานสถาบันการผลิต “ สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ ”๒. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ๓. สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ๔. ปรับมาตรฐาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็น “ สำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต ”
มอบหมายหน้าที่หน่วยงานเดิม เพื่อภารกิจใหม่
๑. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และสพฐ. “การประกันการเรียนรู้ และมาตรฐานผู้เรียน”
๒. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาขับเคลื่อน การกระจายอำนาจของพื้นที่ และการศึกษา
แก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหา
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. การประสานแผนฯ ๓. การดำเนินการตามแผนฯ ๔. การติดตามประเมินแผนฯ
สร้างสรรค์แนวทางใหม่/เพิ่ม
๑. องค์ความรู้/ทักษะแผนฯ ๒. บูรณาการ แผนฯ ๓. ดำเนินการตามแผน ๔. ติดตาม/ประเมิน
เรื่อง การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา นายจินศิริ พุ่มศิริ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วงเงิน ๑๘,๐๒๘.๕๕๘ ล้านบาท (ผ่านพิจารณาวาระที่ 2- 3)
งบรายจ่าย ปี๒๕๕๓ ร้อยละ
งบบุคลากร ๗,๘๒๘.๐๙๕ ๔๓.๔๒
งบดำเนินงาน ๓,๘๖๗.๒๘๗ ๒๑.๔๕
งบลงทุน ๕๔๗.๑๔๓ ๓.๐๓
งบเงินอุดหนุน ๕,๗๒๙.๕๓๑ ๓๑.๗๘
งบรายจ่ายอื่น ๕๖.๕๐๐ ๐.๓๑
รวมทั้งสิ้น ๑๘,๐๒๘.๕๕๖ ๑๐๐.๐๐
ข้อควรระวัง และข้อเสนอแนะ การบริหารงบประมาณ
• การรายงานข้อมูล และผลการเบิกจ่ายเงิน
• การจัดทำแผนขอตั้งงบประมาณ และแผนการใช้เงิน
• การวางแผนและการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
• การใช้จ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงิน
• การขอสนับสนุนเงิน และ การจัดทำหนังสือตอบโต้
• การติดต่อ การสอบถาม การหารือ และการประสานงาน
• การใช้ระเบียบ หลักเกณฑ์ และการตีความ
• การควบคุมและการจัดเก็บเอกสารงบประมาณ
เรื่อง โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ ๒ (SP ๒,๒๕๕๓-๒๕๕๕)
โดย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา (นายเจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ)
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประชุม สกสค.จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๑๑.๓๐ น.
ร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงนโยบายโครงการ ช.พ.ค. ๕ ของ คณะกรรมการ สกสค.ทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตการศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑โดยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานในการประชุม conference ซึ่งมีรายละเอยดการประชุมดังนี้
๑.ความคืบหน้าของการดำเนินงานเงื่อนไขใหม่ในการกู้ยืม ช.พค. โครงการ ๕ ระยะที่ ๒ มีการปรับปรุงในเรื่องของการทำประกันชีวิตให้เป็นไปตามความสมัครใจของสมาชิกผู้กู้ยืมและได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามเงื่อนไข ผู้ขอกู้สามารถขอกู้โดยไม่ทำประกันชีวิตได้เต็มวงเงินหลังจากหักค่าจัดการศพแล้วเป็นเงิน ๕๙๐,๐๐๐ บาท โดยใช้บุคคลค้ำประกัน จำนวน ๑ คน ผู้ค้ำหนึ่งคนค้ำได้สัญญาหนึ่งสัญญาและผู้ที่ขอกู้และได้รับพิจารณาสิทธิ์การกู้แล้วไม่สามารถไปค้ำประกันสัญญาได้อีก
๒.ในการกู้ตามโครงการ ช.พ.ค. ๕ ไม่มีการระดมทุนโดยการหักเงินจากสมาชิกจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท และกรณีที่หักจากสมาชิกแล้วทางคณะกรรมการ สกสค.จะตรวจเช็ครายชื่อสมาชิกแล้วส่งให้ธนาคารออมสินและธนาคารออมสินส่งให้สาขาแต่ละจังหวัดคืนเงินให้สมาชิกทางบัญชีธนาคารออมสินของสมาชิกต่อไปและจะให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ นี้
๓.กรณีสมาชิกสอบถามตามเงื่อนไขใหม่จะกู้ได้เมื่อใด ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการ สกสค.ได้ประกาสลงในราชกิจจานุเบกษาจึงมีผลบังคับใช้และได้แจ้งให้กับธนาคารออมสินได้รับทราบจึงจะมีผลในการปฏิบัติต่อไป
๔.กรณีผู้ขอกู้ที่ยื่นกู้และไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ก็ให้พิจารณาดำเนินการต่อไปไม่ให้ระงับการขอกู้ แต่หากผู้ขอกู้ประสงค์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ก็ให้ชลอการขอกู้นั้นไว้ก่อนจนกว่าเงื่อนไขใหม่จะมีผลบังคับใช้
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมประชุมคณะกรรมการ สกสค.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่ ๑๑ / ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ปลัดกระทรวงเรียกประชุมคณะกรรมการ สกสค. จังหวัดทั่วประเทศโดยประชุมผ่านทาง VDO.conference จังหวัดแม่ฮ่องสอนประชุมที่ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ไม่มีรายละเอียดของการประชุมเนื่องจากสัญญาณ conference ไม่ดี
เวลา ๑๓.๓๐ น.ประชุมกรรมการควบคุมงานก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารอำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ประชุมสัมนาผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ
วันที่ ๒๔-๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
ร่วมประชุมสัมนาผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาส่วนภูมิภาค ภาคเหนือที่โรงแรมเวียงอินน์จังหวัดเชียงราย
๑.นโยบายและปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ การปฏิรูปรอบสองและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.ความก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพควบคุม การเลื่อนวิทยฐานะ เงินเดือน และเงินวิทยฐานะ
๓.การออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบวิชาชีพควบคุม
๔.แนวทางการออกและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
๕.มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
๖.งานของคุรุสภาและช่องทางการประชาสัมพันธ์งานของคุรุสภา
รับท่านที่ปรึกษา
วันศุกร์ที่ ๒๑ สิหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
เวลา ๒๐.๐๐ - ๒๒.๓๐ น.
รับท่านที่ปรึกษาพันธ์ศักดิ์ โรจนากาศ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรมร่วมประชุมกับคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาร่วมกันกับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคของอาชีวศึกษาร่วมกับในระดับปริญญาตรีตามข้อตกลงร่วมกันก่อนที่สถาบันการอาชีวศึกษาจะเกิดตามรูปแบบและหลักสูตรของ มจธ. และการร่วมพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของการศึกษา
ครม.เห็นชอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
รมว.ศธ.เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
ศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) และเห็นชอบหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ
๑) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๒) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย
๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๒) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู
๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อเสนอกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาตามข้อเสนอดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเสนอให้มีกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
๑) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ให้มีคณะกรรมการ ๒ คณะเพื่อดำเนินการทางนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี รมว.ศธ.เป็นประธานฯ ให้คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ มีกรอบเวลาในการดำเนินงาน ๕ ปีและให้ยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานี้แล้ว โดยให้ สกศ.ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
๒) จัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดตั้งองค์กรเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานสถาบันผลิตครู ได้แก่ ๑- สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติ ที่มีการบริหารจัดการอย่างคล่องตัว เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู ประกันและรับรองคุณภาพและมาตรฐานสถาบันผลิตและพัฒนาครู และพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ๒-สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างอิสระ คล่องตัว ไม่อยู่ในระบบราชการ ทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ประเมินและให้การรับรองสมรรถนะวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓-สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ๔-ปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และให้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
๓) มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมหรือเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้การวัดประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นกลไกในการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น และให้ สกศ.ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยให้มีองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยให้มีองค์คณะบุคคลเพื่อดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ มีกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุงคู่ขนานกัน ได้แก่ ระบบการเงินการคลัง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และการปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง รวม ๒ คณะ ให้คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วย รมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด และกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมของคณะกรรมการ ให้สำนักงานเลขาธิการ สกศ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างจากส่วนราชการอื่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติราชการใน สกศ. ตลอดจนการให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล และคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน ให้การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ระเบียบนี้ยกเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา ๕ ปี นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
รมว.ศธ.เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
ศึกษาธิการ - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) และเห็นชอบหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๒ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ
๑) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๒) เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย
๑) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๒) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู
๓) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อเสนอกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาตามข้อเสนอดังกล่าวบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงเสนอให้มีกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
๑) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ให้มีคณะกรรมการ ๒ คณะเพื่อดำเนินการทางนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มี รมว.ศธ.เป็นประธานฯ ให้คณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ มีกรอบเวลาในการดำเนินงาน ๕ ปีและให้ยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานี้แล้ว โดยให้ สกศ.ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
๒) จัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดตั้งองค์กรเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานสถาบันผลิตครู ได้แก่ ๑- สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติ ที่มีการบริหารจัดการอย่างคล่องตัว เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู ประกันและรับรองคุณภาพและมาตรฐานสถาบันผลิตและพัฒนาครู และพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ๒-สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างอิสระ คล่องตัว ไม่อยู่ในระบบราชการ ทำหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ประเมินและให้การรับรองสมรรถนะวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓-สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อสนับสนุนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ๔-ปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และให้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
๓) มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมหรือเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้การวัดประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นกลไกในการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น และให้ สกศ.ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา โดยให้มีองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ มีความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือก โดยให้มีองค์คณะบุคคลเพื่อดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ และนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้ มีกลไกสนับสนุนที่ต้องพัฒนา/ปรับปรุงคู่ขนานกัน ได้แก่ ระบบการเงินการคลัง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา และการปรับปรุงแก้ไข บังคับใช้กฎหมายการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง รวม ๒ คณะ ให้คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ประกอบด้วย รมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ สกศ.เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด และกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมของคณะกรรมการ ให้สำนักงานเลขาธิการ สกศ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างจากส่วนราชการอื่น หรือพนักงานหรือลูกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติราชการใน สกศ. ตลอดจนการให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล และคณะบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน ให้การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ระเบียบนี้ยกเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา ๕ ปี นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
คัดเลือกครูและเหน้าที่รับรางวัล"หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร"
แทนผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนร่วมกรรมการคัดเลือกครู - อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ควรได้รับรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร"โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นประธานในการประชุมพิจารณาคัดเลือก ซึ่งมีผู้ส่งคัดเลือกจำนวน ๖ คน ดังนี้
๑.นางอุทิน เชาว์การ นักวิชาการศึกษา สพท.แม่ฮ่องสอนเขต ๑
๒.นายอดิศักดิ์ ปู่หล้า ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านเลโคะ อำเภอสบเมย
๓.นางนิภา บุญเจริญ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๓๓ (บ้านทุ่งพร้าว)
๔.นายธีรวิทย์ คำใส ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านห้วยส้าน อำเภอขุนยวม
๕.นางอนงค์ เพชรชิต ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านคะปวงอำเภอแม่สะเรียนง
๖.นางธนัชพร อินยา ครูชำนาญการโรงเรียนปายวิทยาคารอำเภอปาย
ผลการคัดเลือก ๑.นางอุทิน เชาว์การ ๒.นางนิภา บุญเจริญ
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การร่วมแก้ปัญหานักเรียนทะเลาะกันระหว่างโรงเรียน
เวลา ๐๘.๓๐ น.
สำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยผู้จัดการสงวน ศรีสวัสดิ์ และผอ.ธงชัย สงวนสิทธิ์ประธานเครือข่ายได้นำเงินมามอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรของสมาชิกสหกรณ์ที่วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน จำนวน ๕ ทุนๆละ ๒,๐๐๐.บาท รวมเป็นเงินทุน ๑๐,๐๐๐.บาทผู้ที่ได้รับทุนได้แก่
๑.น.ส.ณัชญา ศุภเวทีบุตรของนางอำโนญ พัฒนกสิกรสมาชิกเลขทะเบียนที่ ๐๕๒๗๐
๒.นายอภิวัฒน์ ทุมตะคุบุตรของนายสุทิน ทุมตะคุสมาชิกเลขทะเบียนที่ ๓๙๐๖
๓.น.ส.กัญญา พุทธวงษ์บุตรของนายสมจิตร พุทธวงษ์เลขทะเบียนที่ ๐๗๑๔๑
๔.นายยุทธการ คำกลางบุตรของนางนฤมล คำกลางเลขทะเบียนที่ ๐๕๖๑๕
๕.นายทศพล บริสุทธิโอภาสบุตรของนายทวีชัย บริสุทธิโอภาสเลขทะเบียนเลขที่ ๐๔๘๘๑
เวลา ๑๓.๔๕ น.
เวลา ๑๓.๔๕ น.
ได้มีโอกาสพบนายสมศักดิ์ สุขนิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนเข้ามาปรึกษาเรื่องนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนได้เข้าไปหาเรื่องนักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ถึงในโรงเรียนและหอพักมีการแจ้งความไว้กับตำรวจครั้งหนึ่งและที่เพิ่งเกิดข้นเมื่อเร็วๆนี้อีกซึ่งทางครูปกครองทั้งสองโรงเรียนได้พูดรายละเอียดและชื่อของนักเรียนคู่กรณี อยู่ระหว่างการสอบสวนอยู่ด้วยโดยครูวิทยา ภิญโญฤทธิ์ และหาทางป้องกันในระยะยาวโดยผอ.โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เสนอการทำโครงการให้นักเรียนทั้งสองโรงเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และการเปิดสอน ปวช.เทียบโอนสะสมหน่วยกิตในโรงเรียนมัธยมปีการศึกษาต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)